Page 188 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 188

164
นั่นแหละ เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น ให้สังเกตดูว่า ความคิดกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน และพอใจที่จะรู้ ถ้าอยากจะรู้ว่า ความคิด เที่ยงหรือไม่เที่ยง มีการเกิดดับหรือไม่ ให้พอใจที่จะรู้ว่าเขาเกิดแล้วดับ อย่างไร ไม่ใช่พอใจที่จะรู้ว่าเขาจะไปถึงไหน จะคิดอะไรต่อไป แล้วก็จะคล้อย ตามไปเรื่อย ๆ
ถ้าพอใจที่จะรู้ว่าความคิดนี้เกิดขึ้นมาแล้วดับอย่างไร เกิดขึ้นมาแล้ว ดับอย่างไร ก็จะเห็นชัดว่าความคิดนั้นมีการตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ เกิด ขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป เกิดขึ้นมาก็ดับไป มีการเกิดใหม่ตลอดเวลา ถึง แม้จะเป็นเรื่องเก่า แต่ก็เกิดใหม่อยู่เรื่อย ๆ เห็นดับไป เกิดขึ้นมาใหม่ เห็น ดับไป เกิดขึ้นมาใหม่... ถ้าพอใจที่จะรู้ว่าเขาเกิด แล้วดับไป แล้วเป็นอันใหม่ จิตเราก็จะไม่สั่งสมเรื่องเก่า ๆ เขาก็จะจบไป เกิดขึ้นมาใหม่ ดับไป ก็ว่างไป โล่งไป เบาไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องเก่า เป็นเรื่องเก่า เป็น เรื่องเก่า... ก็สั่งสมเรื่องเดิม ๆ เข้ามา แล้วก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยาว แล้วไม่จบ เราก็จะตัดอารมณ์นั้นได้ยาก
แต่ถ้าเมื่อไหร่พิจารณาถึงความเป็นคนละส่วน ระหว่างจิตที่ทาหน้าที่ รู้หรือวิญญาณรู้กับความคิดที่เกิดขึ้น แล้วพอใจที่จะรู้ว่าความคิดนั้นเกิด แล้วดับอย่างไร ก็จะทาให้จิตใจเกิดความรู้สึกสงบ หรือคลายจากอุปาทาน หรือปล่อยวาง จิตจะเกิดอาการผ่อนคลาย ปล่อยวาง ไม่เข้าไปยึดมั่นใน สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ตั้งมั่น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และรู้ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความคิดที่เกิดขึ้นมีทั้งประโยชน์ และโทษ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็มีทั้งประโยชน์และโทษ อยู่ที่เราจะเลือก ความคิดประเภทไหนที่เป็นคุณ ก็ลองพิจารณาดู ความคิดประเภทไหนที่เกิด ขึ้นมา แล้วให้ทุกข์ให้โทษแก่เรา ควรจะทาอย่างไร ? ควรจะยึด ควรจะไป คลุกคลีหรือไม่ ? นั่นคือสิ่งที่ต้องพิจารณา
แต่ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องในอดีตหรืออนาคต


































































































   186   187   188   189   190