Page 189 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 189

165
ก็ตกอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ทั้งสิ้น นี่แหละสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นมาเป็น อาการของขันธ์ห้าเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็อยู่ตรงนี้นี่แหละ อยู่กับร่างกายจิตใจ กาลังปรากฏอยู่นี้ ก็อยู่ในโลกนี้ เราจะไปที่ไหน ธรรมะ ก็ไปกับเราตลอด ธรรมชาติของชีวิตของเรา ขันธ์ห้านี่ก็ไปกับเราตลอด แล้ว ทาไมถึงทุกข์กับขันธ์ห้า ? นี่แหละคือสิ่งที่ควรจะถามตนเอง พิจารณาดูว่า ทาไมเราถึงทุกข์กับขันธ์ห้า เมื่อถึงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง ?
ทุกข์กับขันธ์ห้าเมื่อเวลาที่เขาเปลี่ยนแปลง เพราะรับไม่ได้ หรือไม่รู้ จะรับอย่างไร... ไม่รู้จะตั้งตัวรับ หรือทาใจรับอย่างไร กับการเปลี่ยนแปลง ของขันธ์ห้าที่เกิดขึ้น จึงทาให้เกิดความรู้สึกทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้ามีปัญญา พิจารณารู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่ปรากฏ ก็จะทาให้ความทุกข์ น้อยลง หรือไม่ทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ห้าที่กาลังแสดงอยู่ ทาให้ จิตไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญ
เราศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ปฏิบัติตาม เป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า ที่ต้องการเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ อย่างน้อย ๆ ทาความ เข้าใจในธรรมชาติของขันธ์ห้า พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของสิ่ง ต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมารอบตัวเรา นอกจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาก็คือ อารมณ์ ที่ปรากฏขึ้นมาทางทวารทั้งหก...
อารมณ์ที่อาศัยทางทวารทั้งหกเกิดขึ้น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กายกระทบกับรูปหรือตา กระทบกับรูป แล้วรู้สึกอย่างไร ? มีความพอใจขึ้นมา หรือมีความไม่พอใจ เกิดขึ้น หรือกระทบแล้วรู้สึกเฉย ๆ กระทบแล้วว่างไป ? เมื่อไหร่ก็ตามที่รับ รู้อารมณ์เหล่านั้นด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ที่พิจารณาขันธ์ห้าว่า ไม่ใช่ของเรา แล้วอารมณ์ภายนอกที่อยู่รอบตัว มีสิ่งไหนบ้างที่บอกว่าเป็น ของเรา ? รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ปรากฏขึ้นมา มีอะไรบ้างที่บอกว่า


































































































   187   188   189   190   191