Page 187 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 187

163
ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ ว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป เปลี่ยนแปลงอยู่เนือง ๆ เกิดดับตลอดเวลา บังคับบัญชาไม่ได้ ตรงที่บังคับ ไม่ได้ตรงนี้แหละ คือความเป็นอนัตตา เกิดแล้วต้องดับไป มีแล้วหายไป คือ ทุกขลักษณะ ตัวที่เปลี่ยนแปลงอยู่เนือง ๆ เดี๋ยวหนักเดี๋ยวเบา เดี๋ยวไหว เดี๋ยวกระเพื่อม ตรงนั้นลักษณะของความไม่เที่ยงหรือว่าอนิจจัง แปรปรวน เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ตั้งมั่น
แม้แต่เวทนาที่กาลังปรากฏอยู่นี้ ก็แสดงอาการในลักษณะเดียวกัน เราจะเห็นชัดแค่ไหน เห็นชัดหรือไม่ชัดอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกาลังของสติและ ปัญญาของเรา ว่ามีความละเอียดแค่ไหน มีกาลังมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไร ก็ตาม การพิจารณาสภาวธรรม ก็ต้องมีการใส่ใจที่จะพิจารณาอยู่เนือง ๆ เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร จะทาให้จิตคลายจากอุปาทาน ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น หรือไม่หลงเข้าไปยึด ในอารมณ์เหล่านั้น ว่าเป็นของเที่ยง ว่าเป็นของเรา เพราะฉะนั้น การ พิจารณาสภาวธรรมแบบนี้นี่แหละ ที่จะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์
สภาวธรรมที่เกิดขึ้น นอกจากเวทนา นอกจากความคิดที่ปรากฏขึ้น มา ก็จะมีตัวสัญญา เป็นตัวที่ต่อเนื่องกัน ความคิดต่าง ๆ ที่ปรากฏ หรือ ความจาต่าง ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ปรากฏขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้วทาให้ปรุงแต่งต่อ สัญญากับสังขารมักจะเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันเสมอ เมื่อมีความคิด ขึ้นมา ก็จะปรุงแต่งหรือคล้อยตาม มีอะไรปรากฏขึ้นมาก็จะคล้อยตาม ไหล ตาม ไหลไปเรื่อย... เรื่อย... ปรุงแต่งจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ เกิดจากเรื่องเดียว แต่เวลาห้ามให้เขาหยุด กลับหยุดไม่ได้ อยากให้หยุด กลับหยุดไม่ได้ ไม่อยากให้เกิด ก็เกิด ไม่อยากจะคล้อยตาม ก็คล้อยตาม
จริง ๆ แล้ว ตัวสัญญา สังขาร ก็ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์แบบ เดียวกัน เพราะฉะนั้น ทาอย่างไรถึงจะเห็นถึงลักษณะอาการพระไตรลักษณ์ ของตัวสัญญาหรือสังขารที่เกิดขึ้น ? ก็ใช้หลักเดียวกันกับที่พิจารณาเวทนา


































































































   185   186   187   188   189