Page 184 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 184

160
ถ้าปรุงแต่งไปในอดีต... ที่จริงแล้วอดีตเราไม่ต้องปรุงแต่งหรอก เพราะอดีตเป็นเพียงตัวสัญญาที่เกิดขึ้นมา แต่ว่าเป็นปัจจัยให้เกิดการ ปรุงแต่ง เขาเรียก “สัญญาขันธ์” เรื่องราวในอดีตที่จาได้ ตัวความจาเองเป็น ตัวสัญญาขันธ์ ความจาเรื่องราวก็จาเรื่องที่ผ่านมาเท่านั้น เรื่องไหนที่ยังไม่ เกิด ไม่สามารถจาได้ เพราะไม่มีอะไรให้จา ตัวสัญญาทาหน้าที่จาอดีต ถ้า ใครจมอยู่กับอดีต ก็ทุกข์กับอดีตที่เกิดขึ้น เอาเรื่องในอดีตมาปรุงแต่งว่า เป็นของเราเป็นเรา อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ พอไม่เป็น อย่างที่ปรารถนาก็ทุกข์ ส่วนใหญ่ที่ปรุงแต่งในอดีตแล้วทุกข์กับอดีต ก็จะ เป็นการคร่าครวญ มัวแต่เสียดายหรือคร่าครวญอยู่ ไม่มองไปข้างหน้า ก็ กลายเป็นว่าจมอยู่กับอดีต ทุกข์อยู่กับอดีต ไม่สามารถหลุดพ้นจากอดีตได้
แต่ถ้าพิจารณารู้ชัดถึงว่าสัญญาก็สักแต่ว่าสัญญา พิจารณาอย่างไร ? สัญญาก็เป็นขันธ์ ๆ หนึ่งที่เกิดขึ้น จึงจะครบสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ มีขันธ์ห้าครบ... มีสัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ คือตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้ เพราะ ฉะนั้น คนเราเกิดมามีขันธ์ห้า มีรูป มีเวทนา มีสัญญา สังขาร วิญญาณ มี ขันธ์ครบจึงเป็นคนสมบูรณ์ ถ้าขันธ์ใดขันธ์หนึ่งหายไป ดูว่าจะเป็นอย่างไร ? ถ้ารูปขันธ์หายไปก็อาจจะดีหน่อย รูปขันธ์หายไป ก็กลายเป็นเทวดา หรือ เป็นพรหมไป ทีนี้มีรูปอยู่แล้ว ถ้าเกิดสัญญาหายไป ก็กลายเป็นคนจา อะไรไม่ได้ ถ้ามีรูป มีสัญญา แต่สังขารไม่มี ก็คิดอะไรไม่เป็น จิตสังขาร ไม่เกิดขึ้น คิดอะไรไม่ได้ ก็ไม่ค่อยดีอีก
เพราะฉะนั้น เราเกิดมามีขันธ์ห้าครบ ก็ถือว่าเป็นความดีอย่างหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ว่าเป็นตัวเรา ของเรา ทั้ง ๆ ที่โดยสมมติ เขาเรียก “สมมติสัจจะ” ความจริงโดยสมมติ ขันธ์ห้าอันนี้ก็เป็นของเรานั่นเอง ไม่เป็นของใคร ถ้าเป็นของคนอื่น เขาก็ยืม ไปใช้ตลอด ถ้าเป็นของตัวเอง ก็จะรู้จักรักษาตัวเอง ขันธ์ห้านี้ดีอย่างไร ? ประโยชน์ของขันธ์ห้า อันนั้นต้องพิจารณา


































































































   182   183   184   185   186