Page 208 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 208

184
จะต้องไปยังไงต่อ อันนี้จะต้องรู้ เพราะฉะนั้น สภาวะพวกนี้โยคีจะต้องเล่า อาการเกิดดับ สภาพจิต เพราะฉะนั้น ไม่ต้องซับซ้อน ง่าย ๆ
ถ้าพิจารณาอย่างนี้ เราจะรู้วันหนึ่ง ๆ ที่ผ่านไป ผ่านไป... ถ้าเรารู้ แบบนี้ เราจะรู้เลยว่าสภาวะที่เปลี่ยนไปต่างจากเดิมอย่างไร ปฏิบัติแล้วเรา เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ดีขึ้นอย่างไรบ้าง อันไหนบ้างที่ไม่ดีขึ้น แล้วเราจะเลือก ได้ง่าย ถ้าทาแล้วไม่ได้ดีขึ้นเลย อันนั้นก็ต้องพิจารณาดูด้วยตัวเอง ถ้าทาแล้ว รู้สึกถูกจริต เราดีขึ้น สภาพจิตดีขึ้น กิเลสน้อยลง ความทุกข์น้อยลง อันนั้น ก็ต้องพิจารณา เราเป็น “คนเลือก” อาจารย์ก็เป็นแค่ผู้บอก ถ้ามาหาอาจารย์ อาจารย์ก็จะบอก อย่างนี้ ให้ทาแบบนี้... แล้วเราเลือกเองว่าถูกจริตไม่ถูกจริต ดูเองว่าเป็นยังไง นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม พิจารณาดู ดีไม่ดีกับเรา ? ดี กับเราอย่างไร ? ถ้าดีแล้วนี่ ทาอย่างไรให้ดีขึ้น ?
ทาอย่างไรให้ดีขึ้น ? อันนี้มาถามได้ ถ้าสงสัยให้ถาม มีหลายอย่าง โยคีไม่เข้าใจ บางทีโยคีสภาวะดี แต่ไม่เข้าใจ ก็จะรู้สึกเหมือนว่ามันไม่ดี ที่ จรงิ แลว้ ตรงทรี่ สู้ กึ เหมอื นกบั ไมด่ ี นนั่ คอื อาศยั ความคดิ แตไ่ มไ่ ดส้ งั เกตสภาวะ ของเขาเอง เลยรู้สึกเหมือนไม่ดี แต่ถ้าสังเกตโดยสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ตรง ไหนที่ว่า “ดี” ? ตรง “สภาพจิต” ของเรา จิตที่เป็นอยู่ขณะนั้นเป็นอย่างไร ? ที่ไม่ดีเพราะเราไม่ชอบ ? ไม่ดีเพราะสภาวะไม่ดี ? หรือไม่ดีเพราะคิดว่าเขา ไม่ดี ? อันนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตให้ดี ในการปฏิบัติธรรม
นี่คือการพิจารณา ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น ก็ขอฝากเอาไว้ พวกเรา นักปฏิบัติทุกคน เราฟังธรรม พิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เราปฏิบัติแล้ว เป็นอย่างไร ดีอย่างไร ที่บอกว่า ธรรมะบางอย่างใช้ความคิด เขาเรียก “จินตามยปัญญา” เข้ามาช่วย บางอย่างใช้ “ภาวนามยปัญญา” คือการกาหนด รู้ตามความเป็นจริง บางอย่างต้องคิดนะ มีปัญหาเกิดขึ้น เรากาหนดดับ อย่างเดียวไม่ได้ เราเห็นอาการเกิดดับของความคิดอย่างเดียว โดยที่เราไม่ คิดเรื่องนั้น ๆ เราจะแก้ปัญหาไม่ได้ แก้ปัญหาทางใจได้แต่แก้ปัญหาชีวิต


































































































   206   207   208   209   210