Page 262 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 262

238
อารมณ์หลัก ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งเจริญกรรมฐานอยู่ เพราะฉะนั้น อารมณ์หลักที่เกิดขึ้นนี่ อารมณ์ไหนที่ปรากฏ “ชัด” แก่จิตหรือแก่ความรู้สึก ของเรา ตรงนั้นจะเป็น “อารมณ์ปัจจุบัน”
อย่างเช่น เรานั่งหลับตาพิจารณากาหนดรู้อาการพองยุบ หายใจเข้า ท้องพองออก หายใจออกท้องยุบลง ถ้าขณะนั้นอาการพองยุบชัด อารมณ์ หลักก็คืออาการพองยุบ แต่ถ้าขณะที่เรานั่ง อาการกระเพื่อมไหวที่ท้อง ไม่ชัด แต่ชัดที่บริเวณอื่น อย่างเช่น ส่วนบริเวณหทยวัตถุมีอาการกระเพื่อม เกิดขึ้น ตรงนั้นล่ะคืออารมณ์หลักที่เราต้องตามกาหนดรู้ ก็คือ “การดูกาย ในกาย” แล้วอีกอย่างหนึ่ง เวลาเราเจริญกรรมฐานแบบนี้ อีกอารมณ์ก็คือ “เวทนา” เมื่อเรานั่งแล้วมีเวทนาปรากฏขึ้นมา ไม่ว่าจะเกิดเวทนาส่วนไหน ของร่างกายก็ตาม ถ้าเวทนาชัดกว่าอาการพองยุบ อารมณ์ปัจจุบันของเรา ก็คือเวทนา นั่นเป็นอารมณ์ที่เราต้องตามกาหนดรู้
นอกจากเวทนา ก็คือ “ความคิด” ที่ปรากฏขึ้นมา ขณะที่เราเจริญ กรรมฐาน พอนั่งไปมีความคิดเยอะแยะมากมาย ลมหายใจหรืออาการ พองยุบไม่ชัด เวทนาไม่มี มีแต่ความคิดอย่างเดียว ขณะนั้นความคิดก็คือ อารมณ์ปัจจุบัน เขาเรียกว่า “ดูจิตในจิต” แต่คาว่า “จิตในจิต” นี่ หนึ่ง รู้ว่า คิดอะไร ? สอง รู้ว่าสภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร ? รู้สึกสงบ รู้สึกโล่ง รู้สึก โปร่ง รู้สึกเบา รู้สึกว่าง ๆ รู้สึกมีความสุข นั่นคือลักษณะของจิตเช่นกัน
และอีกอย่างหนึ่งที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก แม้แต่ “จิตที่ทาหน้าที่รู้” เองก็เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เราต้องกาหนดรู้ว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้หรือ ตัวสติที่ทาหน้าที่รู้ เขามีอาการอย่างไร ? มีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับหรือ ไม่ ? อันนี้คือ “การดูจิตในจิต” หนึ่ง รู้ว่าคิดอะไร ? สอง รู้ว่าสภาพจิตใจ เป็นอย่างไร ? สาม แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ เราก็ต้องรู้ว่าเขามีการเกิดดับหรือ ไม่ ? อันนี้คือละเอียดขึ้น


































































































   260   261   262   263   264