Page 264 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 264

240
และสิ่งที่เราต้องรู้ต้องสังเกตก็คือว่า อาการเกิดดับของพองยุบเรา “เปลี่ยนไป” ในลักษณะอย่างไร ? ยังคงเดิม หรือเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เร็วบ้าง ช้าบ้าง ? นี่คือสิ่งที่ต้องรู้ เขาเรียก “รู้ความไม่เที่ยง” ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่ใช่รู้แค่ว่า พองแล้วก็ยุบ พองแล้วก็ยุบ... หรือ ยุบแล้วก็พอง... ต้องมีเจตนาที่จะรู้ถึงอาการเกิดดับของพองยุบ เวทนาก็เช่นเดียวกัน การ ดูจิต ดูความคิด ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น เราเข้าไปรู้เวทนาที่ ปรากฏขึ้นมานั้น มีอาการอย่างไร ? ไม่ใช่แค่ปวดมากปวดน้อย เวทนานั้น มี “การเปลี่ยนแปลง” อย่างไร ? อันนี้คืออารมณ์หลัก ๆ ที่เราต้องมีเจตนา ที่จะรู้
ทีนี้ การกาหนดรู้อารมณ์หลัก ๆ เหล่านี้ เรารู้แล้วว่าขณะที่เรานั่ง อารมณ์อะไรที่ปรากฏชัดที่สุดสาหรับเรา อารมณ์หลักของแต่ละคนไม่ เหมือนกันในการนั่งกรรมฐานแต่ละครั้ง บางคนนั่งแล้วอาการพองยุบ ชัดเจน บางคนนั่งแล้วความคิดมาก่อน แสดงว่าอารมณ์หลักของแต่ละคน ในแต่ละขณะ ก็อาจจะไม่เหมือนกัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ทุกครั้งเวลา เราปฏิบัติ ในแต่ละบัลลังก์ จุดเริ่มต้นสภาวะ อาจจะไม่ได้เริ่มด้วยพองยุบ เสมอไป บางครั้งหลับตาความคิดมาก่อนแล้ว บางครั้งหลับตาลงก็เริ่มจาก พองยุบ นั่งไปแป๊บหนึ่ง มีเวทนาขึ้นมา พองยุบไม่ชัดเจน นี่คือสภาวะที่ ปรากฏขึ้นมา
เพราะฉะนั้น โยคีต้องสังเกตสภาวะของตัวเองว่า ขณะนี้มีอารมณ์ อันไหนที่ปรากฏชัดสาหรับเรา สติเราจะได้รู้อยู่กับปัจจุบัน ถ้าเราพยายาม เลือกอารมณ์ อย่างเช่น พอเรานั่งกรรมฐานทุกครั้ง พอเริ่มนั่ง เราก็พยายาม ยึดพองยุบอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นมีความคิดปรากฏชัดกว่าพองยุบ เราก็พยายามบังคับจิตให้อยู่ที่พองยุบ ตรงนั้นมันจะเป็นสองอารมณ์ สังเกตว่าพอเป็นสองอารมณ์ อารมณ์ไหนมีกาลังมากกว่า จิตก็จะไปรับรู้ อารมณ์นั้น นั่นคืออารมณ์ปัจจุบัน


































































































   262   263   264   265   266