Page 265 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 265

241
เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าให้มีสติอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน เราต้องเข้าใจ ว่าขณะนั้นอารมณ์ปัจจุบันของเราคืออะไร แสดงว่าถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ความ คิดมีกาลังมากกว่า จิตเราเข้าไปรับรู้ความคิด ความคิดก็คืออารมณ์ปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้มีสติกาหนดรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของความคิด การกาหนดรู้อย่างนี้ต้องมีเจตนา ไม่ใช่ไปพยายามบังคับให้มันดับหรือไม่ ให้คิด เข้าไป “รู้” ความคิดที่เกิดขึ้นดับอย่างไร ? เข้ามาแล้วหายแบบไหน ? จางหาย หรือว่าแวบหายไป หรือแตกกระจายไป ? อันนี้คือการกาหนดรู้ อาการเกิดดับของความคิดที่เข้ามา
อีกอย่าง การมีสติกาหนดรู้ ไม่ใช่เฉพาะขณะที่เรานั่ง อิริยาบถ ทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง แล้วก็นอน ให้มีสติกาหนดรู้ในทุก ๆ อิริยาบถ ถาม ว่า อิริยาบถ “ยืน” เรากาหนดอะไร ? “เดิน” กาหนดรู้อะไร ? “นั่ง” เราพอ เข้าใจแล้ว เวลาเรานั่งกาหนดอะไร อย่างที่พูดไปเมื่อกี้ “นอน” ก็ไม่ต่างกับ นั่ง เพราะอยู่ในอิริยาบถที่เรานิ่ง “ยืน” ก็ไม่ต่างกับอิริยาบถนั่ง เพราะเรา หยุดนิ่ง
“เดิน” คือการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้น การที่เราก้าวเท้าซ้ายขวา ไม่ว่าจะเป็น ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ สิ่งที่ต้องทาเพื่อให้สติเราอยู่กับ ปัจจุบันให้มากที่สุด จะใช้คาบริกรรมหรือไม่ก็ได้ (ขวาย่างหนอ.. ซ้ายย่าง หนอ.. อันนี้เขาเรียก “คาบริกรรม”) หรือให้รู้ชัดไปกับอาการเคลื่อนไหวไป เลย ให้มีสติเกาะติดไปกับอาการ ก้าวขวา รู้ชัด ก้าวซ้าย รู้ชัด พร้อมกับ สงั เกตในลกั ษณะเดยี วกนั วา่ ในขณะทเี่ รากา้ วเทา้ แตล่ ะขา้ ง มอี าการอยา่ งไร ? เป็นเส้น หรือมีอาการสะดุด มีการเกิดดับเป็นขณะ ๆ ไป ? อันนี้คือวิธี สังเกตอาการเกิดดับในขณะที่เราเดินจงกรม
ถ้าสงสัยในการปฏิบัติ อนุญาตให้ถามได้ เพื่อความเข้าใจในการ ปฏิบัติของเรา และการปฏิบัติที่เราจะปฏิบัติอยู่ภายใน ๗ วันนี้ จะใช้วิธีการ สอบอารมณ์ ใครสงสัยก็เข้ามาถามได้ เพราะฉะนั้น เวลาเล่าสภาวะ ปฏิบัติ


































































































   263   264   265   266   267