Page 267 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 267

243
เฉพาะบางคนที่รู้สึกว่าเรากาหนดลมหายใจได้สะดวก เราก็กาหนดลม หายใจไป ถ้ากาหนดที่อาการพองยุบได้ดี ก็กาหนดที่พองยุบไป ที่บอกแล้ว ว่า “อารมณ์ปัจจุบัน” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะเวลาเราเจริญ กรรมฐาน บางคนพอนั่งหลับตา พองยุบชัดเจนขึ้นมา ก็ต้องตามกาหนดรู้ อาการพองยุบไป แต่บางคนพอหลับตาลง อาการเต้นของหัวใจชัด ก็ตามรู้ อาการเต้นของหัวใจไป บางคนหลับตาลงแล้ว มีความคิดเกิดขึ้นมา ความคิด มากกว่าพองยุบ อารมณ์ปัจจุบันขณะนั้นก็คือความคิด จึงต้องตามกาหนด รู้อาการเกิดดับของความคิดไป เพราะอะไร ? เพราะนั่นคืออารมณ์ปัจจุบัน
ถ้าเราพยายามปฏิเสธอารมณ์ปัจจุบัน แล้วไปหาอารมณ์ที่เขายัง ไม่เกิด จิตเราก็จะไม่อยู่กับปัจจุบันแล้ว จะวุ่นวาย เราจะรู้สึกว่าสมาธิไม่พอ ไม่สามารถกาหนดพองยุบได้ เพราะความคิดเข้ามารบกวน ทั้ง ๆ ที่ความคิด เป็นอารมณ์ปัจจุบันขณะนั้น กลายเป็นว่าอารมณ์ปัจจุบันรบกวนอารมณ์ที่ ยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น จึงต้อง “กาหนดรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันที่สุด” แต่ถ้า เราถนัดกาหนดที่พองยุบ ก็กาหนดพองยุบได้เลย
ทีนี้ การกาหนดอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการกาหนดพองยุบ กาหนด ลมหายใจ กาหนดความคิด หรือกาหนดเวทนา ถ้าจะให้ดี ควรกาหนดรู้ อย่าง “ไม่มีตัวตน” กาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน คือกาหนดรู้แบบ “ไม่มีเรา” ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา มีแต่ “สติ” ตามรู้อย่างเดียว สังเกตว่า เวลาตาม รู้อาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าขณะกาหนดพองยุบ หรือการเดินจงกรมก็ตาม จะมี ความรู้สึก “เรา” เป็นผู้ดู “เรา” เป็นผู้ตามรู้ตามดูอาการที่เกิดขึ้น ตรงนี้เขา เรียกว่า “ตามรู้อย่างมีตัวตน” ก็คือมีความรู้สึกว่าเป็นเรา ตรงที่ “ความรู้สึก ว่าเป็นเรา” ตรงนี้ ก็ยังเป็น “บัญญัติ”
ถ้าตามรู้ด้วยความรู้สึก “ไม่มีเรา” หรือตามรู้ด้วย “จิตที่ว่าง” การปรุง แต่งไม่เกิดขึ้น และรู้ตามความเป็นจริง อารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะชัดเจน ไม่ว่า จะเป็นพองยุบ หรืออาการเกิดดับในขณะที่เดิน อย่างที่บอกว่า “ให้สติเกาะ


































































































   265   266   267   268   269