Page 269 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 269

245
จิตที่สบายสามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ไหม ? ได้นะ นี่คือธรรมชาติของ จิตเรา ถูกแล้วนะ จิตเคลื่อนย้ายที่ได้ เพราะธรรมชาติของจิต รับรู้อะไรเขา ก็จะไปที่นั่น สังเกตดูว่า พออาจารย์ยกหนังสือขึ้นมา พอเห็นปุ๊บ จิตเราอยู่ ที่ไหน ? ที่หนังสือ ใช่ไหม ? ไม่ได้อยู่ที่ตัว เห็นไหม จิตออกนอกตัวทันที นี่คือธรรมชาติของคนเรา ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ถามว่า ผิดไหมที่จิตออก นอกตัว ? ไม่ผิด ใช่ไหม ? เพราะเป็นธรรมชาติ แล้วผิดตรงไหน ? เพียง แต่จิตที่ไปรับรู้นั้นเป็นจิตฝ่ายกุศลหรืออกุศลเท่านั้นเอง ทุกครั้งที่เรารับรู้ ลองสังเกตดู ไม่ว่าดูอะไรก็ตาม จิตเราไปที่นั่นทันทีหรือเปล่า ? ไป ใช่ไหม ? คิดถึงบ้าน ก็ไปที่บ้าน แป๊บเดียว! การเดินทางของจิตไร้กาลเวลา ไม่ว่าจะ ใกล้หรือไกลก็ใช้เวลาเท่ากัน
ทีนี้ ทาดูนะ ลองน้อมจิตมาข้างหน้าตัวเองในที่ว่าง ๆ ไม่ต้องไปไกล เกิน ถ้าไปไกลเกินเดี๋ยวจะหาไม่เจอ ประมาณสักช่วงแขนหนึ่ง แล้วสังเกต ว่า จิตที่อยู่ในที่ว่าง ๆ รู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึก โปร่ง รู้สึกอึดอัด รู้สึกว่าง ๆ รู้สึกแบบไหน ? รู้สึกยังไง ? เบา ๆ นะ ถูก แล้วนะ ใครรู้สึกเบา ๆ แล้วลองสังเกตต่อ ความรู้สึกที่เบาสามารถเคลื่อน ย้ายที่ได้หรือเปล่า ? ได้นะ ถูกแล้วนะ ลองย้ายจิตที่เบา ๆ ไปที่แขน รู้สึก ยังไงบริเวณแขนเรา ? รู้สึกหนัก ? เบา ? ลองอีกนิดหนึ่ง ย้ายจิตที่เบาไปที่ สมองเรา รู้สึกเป็นไง ? ไม่ใช่ไปดูรูปร่างของสมองนะ ถ้าเราไปหารูปร่างของ สมอง นั่นคือเราไปหารูป รู้สึกเป็นไง ? โล่ง ๆ นะ ถูกแล้วนะ
จริง ๆ แล้วการย้ายจิตที่เบา ก็คือ “การย้ายสติ” ของเรา เพราะฉะนั้น เวลาเรากาหนดอารมณ์ เราจะเห็นชัดว่าสติเราอยู่ที่เดียวกับอาการ หรือ เป็นผู้ดูอยู่คนละที่ สังเกตเมื่อกี้ ที่ดูที่แขนแล้วรู้สึกหนัก ๆ นี่ จิตไม่ได้ไป อยู่ที่แขน แต่เป็นผู้ดูแขน ใช่ไหม ? ก็เลยรู้สึกว่าแขนหนัก ๆ เราเป็น “ผู้ดู” อยู่ แต่เมื่อเอาจิตที่ว่างเบาเข้าไปที่สมอง เราไม่ได้หารูปร่างของสมอง แต่ให้ จิตที่เบาเข้าไปที่สมองเลย จะรู้สึกโล่ง ๆ เบา ๆ


































































































   267   268   269   270   271