Page 271 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 271

247
จิตที่เบาไปที่พองยุบ แล้วตามรู้อาการพองยุบ รู้สึกเป็นไง ? อาการพองยุบมี ความชัดเจนมากขึ้นหรือว่าเป็นอย่างไร ? ชัดเจนมากขึ้นนะ ตรงนี้คือสติเรา มีกาลัง “จิตที่ว่าง สติจะมีกาลัง อาการก็จะชัด” ฉะนั้น เวลาเราตามรู้อาการ พองยุบ ตามรู้อย่างไม่มีตัวตน ชัดแล้วเขาเกิดดับอย่างไร ? เปลี่ยนแปลง อย่างไร ? ตามรู้ไปแบบนี้ เกาะติดไป ใช้จิตที่ว่างกาหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น แม้แต่เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น
ขณะที่เรานั่ง จิตที่ว่างเบานี่ย้ายที่ได้ ใช่ไหม ? ทีนี้ลองพิสูจน์ดูว่า ถ้าใช้จิตที่ว่างเบาไปรองรับจุดกระทบ ระหว่างตัวกับอาสนะ หรือตัวกับพื้น รู้สึกไหมว่านั่งอยู่ที่ไหน ? รู้สึกหนักหรือเบา ? (โยคีกราบเรียนว่า เบา ๆ) ตรงนี้แหละ เวลาเรานั่งแล้วเราจะไม่ทรมาน ทุกครั้งที่นั่งกรรมฐาน เอา ความว่างเบามารองรับ เราก็จะนั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ ไม่ใช่นั่งบนพื้น อย่างเดียว ไม่ใช่นั่งบนอาสนะ การกดทับรู้สึกเป็นไง ? ลอย ๆ ? การกด ทับก็จะเบา เพราะฉะนั้น เมื่อกดทับเบา เวทนาก็จะเกิดช้านิดหนึ่ง นั่งอยู่บน ความว่างเบา
รู้สึกดีไหมขณะที่นั่งอยู่ลอย ๆ ? ดี ใช่ไหม ? จริง ๆ แล้วนี่คือเรา เอามาใช้ ไม่ใช่แค่มาทานั่งแบบตัวลอย ๆ เบา ๆ แต่เจตนาก็คือว่า เมื่อเรา ใช้จิตที่ว่างมารับรู้อารมณ์ ขณะที่นั่งก็นั่งอยู่ในความว่าง ขณะที่เดิน ให้จิตที่ เบาว่างคลุมตัว แล้วก็เกาะติดกับอาการเดิน สังเกตไป เราจะได้รับรู้อารมณ์ ต่าง ๆ อย่างไม่มีตัวตน และไม่มีการปรุงแต่ง ไม่ประกอบด้วยอกุศลจิต ไม่มีปรุงแต่งว่าชอบไม่ชอบ แต่จะรู้ว่าดีไม่ดี หนักหรือเบา ทุกข์ไม่ทุกข์ หรือมีความสุข ไม่ใช่ว่าชอบหรือไม่ชอบ ชอบหรือไม่ชอบก็จะเป็นตัวกิเลส ถ้ารู้ดีหรือไม่ดี หนักหรือเบา ทุกข์หรือไม่ทุกข์ เกิดจากปัญญาของเรา
ทีนี้เราปฏิบัติเพื่อเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น อะไรที่เกิดขึ้นมาแล้วทาให้เราเป็นทุกข์ ? ง่าย ๆ ลองพิสูจน์ดูนะ เมื่อกี้ไม่มี เราแล้วรู้สึก ? (โยคีกราบเรียนว่า เบา ๆ) รู้สึกเบา ๆ ว่าง ๆ สบาย ๆ ลอง


































































































   269   270   271   272   273