Page 272 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 272

248
เติมความรู้สึกว่าเป็นเราเข้าไปสิ รู้สึกเป็นไง ? หนักทันที ใช่ไหม ? นี่คือ ความเคยชิน ความเคยชินก็คือ การเข้าไปยึดเอาว่ารูปนี้เป็นของเรา พอมี เราขึ้นมาน้าหนักก็จะเกิดขึ้น ลองเอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัว เบา ทันที นี่แหละคือ “การละอัตตา” ไม่ยาก ใช่ไหม ? แค่เรารู้ว่าต้องทายังไง
ไม่ใช่บอกว่าไม่ใช่ของเรา การที่เราไปปฏิเสธว่า รูปไม่ใช่ของเราโดย ที่เรา “ไม่เห็น” ยังไงก็ยังหนัก แต่ถ้าเมื่อไหร่ “เห็นชัด” ว่า รูปกับนามเป็น คนละส่วนกัน แล้วแยกนามจากรูป จิตก็จะอิสระโดยอัตโนมัติเช่นกัน คือ การปล่อยวางโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องไปบอกว่า “ฉันจะไม่ยึด ฉันจะไม่ เอา” ถึงเราจะไม่คิดตรงนั้น จิตก็จะว่างได้เช่นกัน นี่คือ “ปัญญา” ที่เกิดจาก การกาหนดรู้ตามความเป็นจริง
ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ขันธ์ ๕ ย่อลงมาเหลือแต่รูปกับนาม คือ กายกับใจ แต่กายกับใจก็ยังเป็นคนละส่วนกันอีก ถามว่า มีส่วนไหนบ้างที่ บอกว่าเป็นเรา ? ตัวไม่บอกว่าเป็นเรา จิตที่เบาก็ไม่บอกว่าเป็นเรา แล้วเหลือ อะไร ? นี่คือการละอัตตา หรือดับความรู้สึกว่าเป็นเรา หรือเข้าสู่ความเป็น อนัตตา คือความไม่มีตัวตน อนัตตาในความหมายของความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่ธรรมชาติของรูปกับนาม ที่เกิดขึ้นและกาลัง เป็นไป ตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
แม้แต่ “ความคิด” ที่เกิดขึ้นก็ตาม ลองสังเกตดูนะ เมื่อกี้ขณะที่ เห็นว่าจิตที่ว่างเบากับตัวเป็นคนละส่วนกัน ทีนี้ขณะที่เราคิด คิดถึงเรื่อง อะไรสักอย่างหนึ่ง คิดแล้วมีมโนภาพเกิดขึ้นไหม ? บางครั้งมี บางครั้งไม่มี แต่มีรสชาติ ใช่ไหม ? เอาง่าย ๆ คิดถึงเรื่องที่ไม่สบายใจ แล้วรู้สึกเป็นไง ? (โยคีกราบเรียนว่า ทุกข์ใจ) รู้สึกหนักหรือเบา ? ความทุกข์เรารู้แล้ว... เหลือ อะไร ? เหลือ “วิธีดับทุกข์”
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ แล้วข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์... ที่ทุกข์เพราะอะไร ? ไปยึดไว้ ใครเป็นผู้ยึด ? “ตัวเรา”


































































































   270   271   272   273   274