Page 273 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 273

249
เมื่อกี้บอกให้ดับความเป็นเรา แสดงว่าเหตุแห่งทุกข์คือ “มีเรา” ใช่ไหม ? เพราะความไม่รู้ว่าขันธ์ทั้ง ๕ เขาเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่เมื่อไหร่ก็ ตามที่ใส่ “เรา” เข้าไป ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พอ เติม “เรา” เข้าไปตัวเดียวเท่านั้นแหละ จิตก็จะเศร้าหมอง เป็นทุกข์ เกิดขึ้นมา
แต่ถ้า “ไม่มีเรา” ลองเอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก แล้วคิดถึงเรื่องนั้น ให้จิตที่ว่างเบา “กว้างกว่า” เรื่องที่คิด จิตใจรู้สึกเป็นยังไง ? เบา ใช่ไหม ? นี่ คือคิดได้ แต่คิดด้วยจิตที่ว่าง ว่างจากตัวตน ไม่ใช่ว่างจากความคิด เมื่อ ว่างจากความเป็นเรา ถึงแม้จะคิดก็ไม่ทุกข์ นี่คือ “ปัญญา” ไม่ใช่ว่าว่างแล้ว ห้ามคิดอะไร ถ้าไม่คิดอะไร เราก็ทาอะไรไม่ได้ ใช่ไหม ? เวลาจะพูด จะ หยิบ จะจับ จะเคลื่อนไหว ต้องประกอบด้วยตัวสังขาร คือการปรุงแต่ง ทางจิตของเรา คิดว่าจะทาอะไร เพื่ออะไร ทาแล้วดีหรือไม่ดีอย่างไร อันนี้ ก็คือ “ตัวสังขาร” ทั้งหมด แต่สังขารเหล่านี้ประกอบด้วยตัวตนหรือเปล่า ? ประกอบด้วยโลภะจิต โทสะจิต โมหะจิต หรือเปล่า ? อันนี้เราจะรู้
ลองสังเกตดู จิตที่ว่างเบาและไม่บอกว่าเป็นเรา มีกิเลสตัวไหนเกิด ขึ้นบ้าง ? ไม่มี เพราะไม่มีเรา โลภะก็ไม่เกิด โทสะก็ไม่เกิด โมหะก็ไม่เกิด เพราะอะไร ? เพราะการที่เห็นว่าไม่มีเรา นั่นคือตัวปัญญา เห็นตามความ เป็นจริง เขาเรียก “สัมมาทิฏฐิ” เห็นตามความเป็นจริงของรูปนาม ธรรมชาติ เขาเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ใช่เราคิดเอา ตรงนี้แหละสาคัญ เห็นตามความ เป็นจริงของรูปนามที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดทางทวารทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ตาม และความจริงอีกอย่างหนึ่งที่เราพยายามกาหนดรู้อยู่ก็คือ สิ่ง ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แม้แต่รูปนามของเราเองเขาก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ปัจจัย เกิดดับตลอดเวลา
สังเกตว่า จิตกับกายเป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้หรือจิตที่ ว่างกับเรื่องที่คิด ถามว่า เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? คนละ


































































































   271   272   273   274   275