Page 274 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 274

250
ส่วน ตรงนี้คือแยกนามกับนาม แยกจิตกับจิต นี่คือสิ่งสาคัญในการเจริญ- วิปัสสนา ต้องแยกรูปแยกนาม จึงจะไปแยกรูปกับรูป ก็คือรู้อาการเกิดดับ ของพองยุบ ว่าเขาเกิดแล้วดับ เขามีช่องว่างไหม ? มีอาการเกิดขึ้นมาแล้ว ดับไป เกิดขึ้นใหม่ ดับไป อยู่เรื่อย ๆ หรือเปล่า ? มีช่องว่างระหว่างพอง กับยุบ หรือระหว่างพองกับพองเอง เขามีการเกิดดับเป็นขณะหรือเปล่า ? อันนี้คือ “การดูกายในกาย”
“การดูจิตในจิต” ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้ รู้ว่าจิตเราเบา จิตเราว่าง รู้ว่าจิต คิดอะไร การดูจิตในจิต อย่างที่บอกแล้วว่า หนึ่ง รู้ว่าคิดอะไร ? สอง ดูว่า สภาพจิตเป็นยังไง ? จิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกมีความสุข รู้สึกนิ่มนวล อ่อนโยน เบิกบาน อันนี้คือลักษณะ ของจิตทั้งหมด และนอกจากรู้ว่าคิดอะไร รู้ว่าแม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ความคิด ก็ยังเป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้ตรงนี้ เขาเรียกว่า “วิญญาณรู้” “สติ” กับ “วิญญาณ” คือตัวเดียวกันนั่นแหละ วิญญาณรู้ทาหน้าที่รับรู้ สติก็คอย เตือนเรา จริง ๆ คือพอเรารู้ชัดในสิ่งที่รู้ เขาก็ครบไปในตัวอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น เวลาพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น จึงบอกว่าให้ “รู้ชัด” ในอาการที่เกิดขึ้นและกาลังเป็นไป แต่วันนี้ที่ให้เพิ่มขึ้นมาก็คือว่า ถ้าเรา กาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน “ไม่มีเรา” มีแต่สติรู้ชัดในอาการที่เกิดขึ้น การ ปฏิบัติของเรา หรือว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างไร ? บางคน สงสัยว่า กาหนดรู้อาการเกิดดับแล้วได้อะไร ? คงไม่สงสัยกันแล้วนะ ก็ อย่างที่บอกไปแล้ว คนที่จะเห็นอาการเกิดดับได้ต้องมีปัญญา ถามว่า กาหนดรู้อาการเกิดดับแล้วจะได้อะไร ? ก็คือได้ “ปัญญา” นั่นเอง ปัญญา รู้ความเป็นจริงของรูปนามขันธ์ ๕ ของเรา มันไม่เที่ยง ไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเรา ไม่ควรไปยึดเอาว่าเป็นของเรา
อย่างที่เมื่อกี้ที่บอกว่า ให้นึกถึงเรื่องที่ไม่สบายใจ แล้วรู้สึกเป็นยังไง ? รู้สึกหนัก ที่หนักเพราะอะไร ? เพราะ “มีเรา” พอเอาความรู้สึกว่าเป็นเรา


































































































   272   273   274   275   276