Page 276 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 276

252
อะไร ?
เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตเรากว้าง จิตเราก็จะว่าง ไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตน
เมื่อจิตว่าง ธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิด ไม่สามารถตั้งอยู่บนความว่างได้ เขาจะสลายไปจะดับไป แต่ที่ตั้งอยู่ได้เพราะมีผู้รับ มี “เรา” เป็นผู้รับ เพราะ ฉะนั้น นี่คือวิธีดับทุกข์ที่ง่ายที่สุด ก็อยู่ที่ว่าเราจะทาบ่อยแค่ไหน เราเป็นผู้ฝึก ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเราทาได้หรือเปล่า ตอนที่นั่งกรรมฐาน เอาแต่นึกถึงเรื่อง โน้นเรื่องนี้ แล้วมันหนักขึ้นมา ลองดู ขยายออกแล้วมันหายไหม ? ขยายได้ ไหม ? ปล่อยออกไปจนเรารู้สึกเกิดความชานาญ พอคิดถึงเรื่องทุกข์ปุ๊บ มัน แวบขึ้นมา มันก็ดับ แวบขึ้นมา ก็ดับ.. เขาเรียก “ทาให้เป็นวสี”
ไม่ใช่ไม่ใส่ใจนะ รู้ชัดว่าทุกข์เกิดขึ้นแล้วและดับอย่างไร แต่ถ้าเรา ไม่ใส่ใจในเรื่องที่ทาให้ทุกข์ ปัญหาก็จะหมักหมม มันก็จะพันกันมากขึ้น ๆ จนหนาแน่นขึ้น จนจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะตัดยังไง ปัญหาบางอย่างเรา ผูกมันไว้ ยึดมันไว้ จนหาทางออกไม่เจอ... หาทางออกไม่เจอ แล้วทายังไง ? ก็ออกทางมันเข้านั่นแหละ จริง ๆ ก็คือ ดับความรู้สึกว่าเป็นเรา และถอย ออกมาดู โยมลองดูนะ ขณะที่นึกถึงเรื่องที่ทาให้ทุกข์ ให้เรื่องที่คิดอยู่ ข้างหน้า และให้จิตเรา “กว้างกว่า” แล้วเป็น “ผู้ดู” เขา เรื่องนั้นรู้สึกใหญ่หรือ เล็ก ? เล็กนิดเดียว! แต่เราขยายให้เขาใหญ่ แล้วก็มาคลุมตัวเอง แล้วก็ไป ไม่เป็นแล้ว ก็เลยกลายเป็นเรื่องหนัก
ที่อาจารย์พูดนี่ ไม่ใช่แค่เราทาได้ตรงนี้แล้วผ่าน เพราะสิ่งที่เราทาได้ เราเป็นผู้ได้ประโยชน์ โยคีเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่อาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงอยากให้เรานาไปใช้บ่อย ๆ ฝึกบ่อย ๆ จนเกิดความชานาญ และดับทุกข์ ได้ เพราะเราปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ถึงแม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ เขาเรียกเป็น “ตทังคะ” ชั่วขณะหนึ่ง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดีมากแล้ว ต่อไปก็คือว่า การที่เราเจริญ สติอย่างต่อเนื่องเพื่อดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น เราต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น มี สติต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด


































































































   274   275   276   277   278