Page 277 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 277

253
ทุก ๆ อิริยาบถ ให้มีสติรู้ถึงอาการ
สิ่งที่สาคัญที่สุดก็คือว่า ถ้าเรารับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน ไม่ว่า
จะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะทานอาหาร แปรงฟัน อาบน้า... ลองดูว่า ถ้าใช้จิตที่ว่าง เบา เป็นผู้รับรู้ไปเรื่อย ๆ สังเกต ดู จิตใจเรารู้สึกเป็นยังไง ? รู้สึกดี ? รู้สึกมีกิเลสตัวไหนเกิดขึ้นบ้าง ? สังเกต แบบนี้ ให้เห็นจิตตัวเองบ่อย ๆ ดูกาย ดูจิต รู้การเคลื่อนไหว ดูสภาพจิต เราเป็นยังไง
เพราะฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติ ที่บอกว่าเรารู้อาการเกิดดับของรูปนาม ไม่ว่าจะเป็นดูพองยุบ รู้เวทนา หรือรู้ความคิด ผลที่เกิดขึ้นก็คือเกิด กับ “จิตใจ” ของเรา ขณะที่เรากาหนดทันพองยุบมากขึ้น เห็นอาการของ พองยุบเปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ นี่ สภาพจิตใจรู้สึกเป็นยังไง ? จิตเราตื่นตัว ขึ้น ผ่องใสขึ้น หรือสงบมากขึ้น หรือนิ่งมากขึ้น ตรงนี้เราจะรู้สึกได้ “ทันที” โดยที่ไม่ต้องคิดและไม่ต้องบังคับ แค่สังเกตและกาหนดรู้ให้ชัดเท่านั้นเอง ผลจากการปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นมากับจิตของเรา เพราะการที่จะละกิเลส ก็คือ ละกิเลสที่เกิดขึ้นกับ “จิต” ของเรา ไม่ใช่เกิดขึ้นที่กาย
กายของเราเป็นไปตามอานาจของจิต อยู่ที่ว่าจิตตรงนั้นเป็นจิต ประเภทไหน ที่มีกาลังพอที่จะสั่งกายเราให้ทาตามได้ เป็นกุศลจิตหรือ อกุศลจิตที่มีกาลัง ง่าย ๆ ก็คือ จิตฝ่ายดีหรือไม่ดี... รู้สึกใจไม่ดีเลย แล้ว มันก็ผลักให้เราไป มันเป็นตัวเร่งเร้ากระตุ้นเรา การที่จะกระตุ้นออกทางกาย ได้ก็คือ จิตเราเสวยอารมณ์อันนั้นจนเต็ม จนมันเก็บไม่อยู่แล้ว ก็เลยต้อง แสดงออกทางกายทางวาจา จิตเราเสพอารมณ์ไม่รู้กี่พันรอบจนกว่าอาการ ทางกายจะเกิดขึ้น ฉะนั้น เราดับที่จิตของเรา
เราจะหยุดอารมณ์ภายในของเรายังไง ? เมื่อไหร่ก็ตามที่ “มีเรา มี เรา มีเรา” ก็จะรู้สึก ยิ่งแน่น.. ยิ่งแน่น... และจิตฝ่ายอกุศลจะมีกาลังมากขึ้น มากขึ้น... จนทาให้รูปเราเป็นไปตาม หน้านิ่วคิ้วขมวด ตัวเล็ก ๆ ก็หนัก! จาก


































































































   275   276   277   278   279