Page 270 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 270

246
ต่ออีกนิดหนึ่ง ไม่ทันเดี๋ยวค่อยว่ากัน ใครทันก็ตาม ใครสงสัยก็ให้ ถาม ลองดูนะว่า ให้จิตที่เบา ๆ นี่กว้างเท่าบริเวณนี้ กว้างเท่าห้องนี้ รู้สึก เป็นไง ? โล่ง ๆ นะ สังเกตใจที่โล่ง รู้สึกว่างไหม ? ว่างนะ สังเกตใจที่โล่ง ว่างกับตัวที่นั่งอยู่ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? คนละส่วนนะ อันไหนใหญ่กว่ากัน ? ใจใหญ่กว่า นี่คือการแยกรูปแยกนาม เห็นไหม ใจก็ คือนาม ตัวก็คือรูป และใจที่ว่างเบาสามารถรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ ใจที่ว่าง ใจที่เบา ก็คือจิตที่ว่างนั่นเอง
ลองสังเกตต่ออีกนิดหนึ่ง เมื่อกี้พูดถึงความไม่มีเรา ลองสังเกต ใจที่ ว่างเบาเขาบอกว่าเป็นใครหรือเปล่า ? หรือแค่รู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ ? รู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ ไม่บอกว่าเป็นใคร ไม่บอกว่าเป็นเรา ตรงนี้คือ “ความเป็นอนัตตา” ลองสังเกตต่ออีกนิดหนึ่ง ขณะที่ใจไม่บอกว่าเป็นเรา รู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ แล้ว ย้อนกลับมาดูตัวที่นั่งอยู่ รู้สึกหนักหรือเบา ? (โยคีกราบเรียนว่า รู้สึกหนัก) สังเกตไหม ตอนที่หนักนี่ จิตเราอยู่ข้างในหรือข้างนอก ? ข้างใน ใช่ไหม ? ตอบถูกแล้ว
ทีนี้ลองดู ถ้าให้เขาอยู่ข้างนอก ข้างหน้าตัว รู้สึกเป็นไง ? (โยคีกราบ เรียนว่า หนัก ๆ) ขณะที่อยู่ข้างนอกนะ ? ขณะที่หนัก จิตเราอยู่ในตัวหรือ นอกตัว ? (โยคีกราบเรียนว่า นอกตัว) ขณะที่อยู่นอกตัว กาลังคิดถึงอะไร ? สิ่งอื่น ใช่ไหม ? เขาเรียก “จิตไปข้างนอก” กาลังมีความคิด แต่ไม่เห็นจิตที่ อยู่นอกตัว เห็นแต่ว่าจิตกาลังไปเที่ยว กาลังคิดอยู่ “เห็นความคิด แต่ไม่เห็น จิตที่อยู่ข้างนอกตัว” อันนี้จะละเอียดนิดหนึ่ง เดี๋ยวค่อยแยกให้ชัดขึ้นอีก ไม่ผิดนะ ถ้าให้ใจโล่งกว้างกว่าตัวเรา แล้วก็ห่อหุ้มตัวเรา ลองดูว่า รู้สึกเป็น ไง ? (โยคีกราบเรียนว่า เย็น ๆ เบา ๆ) เราจะรู้สึกได้ทันที นี่คือความรู้สึก จริง ๆ คือรู้สึกได้ว่าเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็น “การรับรู้แบบไม่มีตัวตน”
เพราะฉะนั้น เวลากาหนดอารมณ์ต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ให้ความรู้สึก ที่เบาหรือจิตที่เบาเข้าไปที่อาการ ลองดูนะ ขณะที่กาหนดพองยุบ ลองเอา


































































































   268   269   270   271   272