Page 351 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 351

327
คุณโยม ดูว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง ? (ตัวแทนโยคีกราบเรียนถามปัญหาที่โยคีกราบส่งเข้ามา)
โยคี : ขอให้พระอาจารย์ช่วยอธิบายการทาจิตให้กว้างออกไป และ
การน้อมบุญเข้าใส่ตัวให้เต็ม แล้วแผ่ออกไปให้กว้าง
พระอาจารย์ : การทาจิตให้ว่าง ให้กว้าง คิดว่าทาได้เกือบทุกคนแล้ว
นะ... การที่จะตอบอย่างเดียว แล้วโยคีไม่ทาเลย ส่วนใหญ่แล้วจะ “ไม่ชัด” ถ้าเรา “จา” แล้ว “ค่อยไปทา” ส่วนใหญ่จะทาไม่ค่อยได้ เพราะเรา “ลืม” วิธีทา เพราะฉะนั้น ถ้าจะตอบคาถามนี้ เราต้องช่วยหาคาตอบด้วยกัน ลองดูนะ วิธีทาใจให้ว่าง ทบทวนอีกนิดหนึ่ง วิธีทาใจให้ว่างที่ง่ายที่สุดก็คือว่า เราน้อมใจมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ ลักษณะของใจที่ว่างจะปรากฏขึ้นมาแก่เรา ถ้าเมื่อไหร่ใจว่าง จะรู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง ตรงนั้นแหละเราจะ “รู้สึก” ได้ แต่ถ้านิ่ง ๆ แล้วก็ดูไม่ออกว่าเป็นอะไร แสดงว่าใจไม่ว่าง คือนิ่ง ๆ แต่ ไม่รู้ว่าใจอยู่ตรงไหน แสดงว่าใจไม่ว่าง
ที่ใจไม่ว่างเพราะอะไร ? เพราะ “ไม่เห็น” ใจตัวเอง เลยบอกไม่ได้ ว่าเป็นอย่างไร ลองสังเกตดี ๆ นะ น้อมใจมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ ทาได้หรือ ยัง ? ทาได้แล้วนะ แล้วลองย้ายใจที่ว่าง ๆ เบา ๆ นี่มาไว้บริเวณหทยวัตถุ ทาไมต้องเอามาที่บริเวณหทยวัตถุ ? เพราะบริเวณหทยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิด ของใจหรือเป็นที่อาศัยเกิดของจิต เมื่อย้ายเข้ามาที่บริเวณหทยวัตถุ เวลาเรา น้อมถึงบุญ น้อมถึงกุศล หรือน้อมถึงความดีที่เราเคยทา จะปรากฏได้ง่าย และรู้สึกได้ชัด เพราะอะไร ? ปกติเวลาเราสบายใจหรือไม่สบายใจก็จะชัด บริเวณหทยวัตถุ เวลาไม่สบายใจ เราจะรู้สึกว่าหนักใจ เวลาสบายใจ รู้สึก ใจเราโล่ง ใจโปร่ง ใจเบา ก็อาศัยที่บริเวณหทยวัตถุนี่แหละเป็นตาแหน่ง
เพราะฉะนั้น ลองดู น้อมเอาความว่างมาไว้บริเวณหัวใจของเรา เอา “ความรู้สึก” ก็คือ จิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ นี่แหละ มาไว้บริเวณหัวใจ เมื่อรู้สึก ว่าบริเวณหัวใจของเรา บริเวณหทยวัตถุเบา โล่ง ต่อไปลองน้อมถึงความสุข


































































































   349   350   351   352   353