Page 353 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 353

329
ตัว คลุมตัว อารมณ์ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เขาจะเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ และไม่เข้ามากระทบใจเรา เพราะฉะนั้น จิตเราก็จะเป็นเพียงผู้รับรู้ และไม่ เข้าไปยึดมั่นหรือยึดติดในอารมณ์อันนั้น แต่ถ้าติดไปแล้วนี่ พอทาใจให้ว่าง ได้เมื่อไหร่ มันก็หลุด! มันก็หายไป! เจริญพร
โยคี : วิธีฝึกน้อมความว่าง หรือเพิกถอนความเป็นตัวเราออกไปนั้น เป็นสภาวะแห่งความเป็นอนัตตา หากผู้ปฏิบัติไม่เคยสัมผัสถึงความเป็น ปรมัตถสัจจะของความเป็นอนัตตา มันจะทาให้การกาหนดสภาวธรรมของ การกระทบอารมณ์ ไม่ตรงกับความจริงหรือเปล่าเจ้าคะ ?
พระอาจารย์ : ถ้าไม่เคยทา และทาไม่ได้ ก็เป็นเรื่องยาก! แต่ถ้ายัง ไม่เคยทา แล้วเริ่มฝึกปฏิบัติที่จะทา ก็ทาได้ไม่ยาก! และการที่เรารับรู้อารมณ์ ด้วยจิตที่ว่าง ในความเป็นอนัตตา ก็จะทาให้เข้าใจความจริงได้ง่าย แต่ถ้ารับรู้ อารมณ์ต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเราหรือมีตัวตน ก็แยกระหว่างความเป็น จริงกับสมมติยากเหมือนกัน
โยคี : การตกภวังค์มีผลอย่างไรกับสมาธิ และเป็นอุปสรรคกับการ ปฏิบัติเหมือนกับนิวรณ์หรือไม่คะ ?
พระอาจารย์ : การตกภวังค์นี่ ถ้าตกยาว ๆ ก็เหมือนกับนิวรณ์ ตก ภวังค์นาน ๆ เขาเรียก “ภวังคจิต” บางคนพอหลับ เขาเรียกว่า “ตกภวังค์” แต่บางทีตามรู้อาการอยู่ดี ๆ สติเราอ่อนนิดหนึ่ง มันจะตกภวังค์แค่นิดหนึ่ง เหมือนกับสะดุดนิดหนึ่งแล้วก็รู้สึกตัวขึ้นมา ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่เป็นอุปสรรค อะไรหรอก พอสะดุดไปแป๊บหนึ่ง ตื่นขึ้นมา จิตตื่นตัว ก็กาหนดต่อไปได้ แต่ ถา้ ตกในลกั ษณะหลบั ไปเลย แลว้ กส็ กั ชวั่ โมงคอ่ ยตนื่ ขนึ้ มา นนั่ กเ็ ปน็ อปุ สรรค ต่อการปฏิบัติ
โยคี : แสงและสีที่เห็นในสมาธิมีความหมายอย่างไร ? สีที่แตกต่าง กันมีความหมายที่ต่างกันหรือไม่คะ ? (เห็นแต่แสงสว่างสีขาวกับแสงสว่าง สีดา)


































































































   351   352   353   354   355