Page 366 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 366

342
มั่นคงเหมือนแผ่นดิน ที่จริงความหมายก็คือว่า ไม่ว่าสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ลง แผ่นดิน จะถ่มน้าลายก็ลงแผ่นดิน จะถ่ายก็ลงแผ่นดิน ล้างหน้าก็ลงแผ่นดิน แผ่นดินไม่เคยปฏิเสธอารมณ์ ที่สุดแล้วสิ่งที่ลงไปในแผ่นดินก็จะกลายเป็น ดิน กลับสู่ดินกลายเป็นธาตุ ๔ ดินไม่เคยปฏิเสธอะไร สารพิษลงไป ก็อยู่ใน ดินนั่นแหละ ปุ๋ยดี ๆ ลงไป ก็อยู่ในดินนั่นแหละ ดินไม่เคยร้องไห้
การทาจิตแบบนี้เพื่ออะไร ? เราเข้าใจแล้ว รับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นรอบตัว เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ดังนั้นเราลองพิจารณาดูว่า การที่เรา ทาจิตให้ว่าง ให้กว้าง แล้วใช้จิตที่ว่าง ที่กว้าง ที่สงบ ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ ให้อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่ในบรรยากาศของความรู้สึก แทนที่จะเกิดเข้ามา อยู่ในตัว เข้ามาในใจ ให้เกิดอยู่ในบรรยากาศของความรู้สึก ทาไมถึงใช้คาว่า “บรรยากาศ” ? เพราะคาว่าบรรยากาศกว้าง บรรยากาศรอบตัว บรรยากาศ ของธรรมชาติ บรรยากาศของความรู้สึก จากความรู้สึกที่ว่างเบา กว้างกว่า ตัวนิดหนึ่ง พอขยายให้กว้างออกไป กลายเป็นบรรยากาศของความรู้สึก
ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเรารับรู้ผ่านบรรยากาศนั้นเข้ามา เหมือน เขาเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ลองดูว่า รู้สึกอย่างไร ? สภาพจิตใจจะเป็นอย่างไร ? นี่แหละคือการพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอะไรจึงให้พิจารณาอย่าง นี้ ? เพื่อให้เราเห็นถึงผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้น ที่บอกว่าเป็นไปเพื่อละ เป็น ไปเพื่อการดับทุกข์ เราจะเห็นชัดว่า เมื่อรับรู้ในลักษณะอย่างนี้ ความทุกข์ เกิดขึ้นได้หรือไม่ ? อารมณ์เหล่านั้นมาบีบคั้นจิตใจเราได้หรือไม่ ? ให้เรา พิจารณาถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ พิจารณาถึงความไม่มีเราบ่อย ๆ รูปไม่ บอกว่าเป็นเรา แขนไม่บอกว่าเป็นเรา ตัวไม่บอกว่าเป็นเรา เสียงที่ได้ยินไม่ บอกว่าเราเป็นผู้ได้ยิน ความคิดที่เกิดขึ้นไม่ได้บอกว่าเป็นเรา แต่เป็นความ คิดที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย
เพราะฉะนั้น เวลากาหนดสภาวะ เมื่อมีความคิด หรือเวทนาเกิดขึ้น อาจารย์จึงมักถามว่ามีตัวตนไหม มีความรู้สึกว่าเป็นเราหรือเปล่า ถึงแม้ความ


































































































   364   365   366   367   368