Page 368 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 368

344
ตัวตน รูปนามนี้จะรู้สึกเบา สภาวะเป็นแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ สภาพจิตเป็น แบบนี้ แต่ “ความเข้าใจ” นั้นยังมีความแตกต่าง เห็นเหมือนกันแต่คิดต่าง กัน อย่างเช่น เห็นพระพุทธรูปเหมือนกัน แต่คิดต่างกัน เพราะอะไร ? เขา เรียก “ปริกัปปอารมณ์” เพราะนิสัยหรือจริตต่างกัน ความชอบต่างกัน แม้ เห็นเหมือนกันแต่รู้สึกไม่เหมือนกัน
แต่จิตที่ว่าง ถ้าเห็นเหมือนกัน ก็จะรู้สึกว่างเหมือนกัน บางคนว่าง แล้วชอบจังเลย บางคนรู้สึกว่างแล้วรู้สึกเฉย ๆ แต่ถามว่า รู้สึกดีไหม ? ดี เพราะฉะนั้น อาการที่เกิดขึ้น รู้สึกดีไม่ดี อันนี้เราจะรู้สึกได้ ตรงที่ดีไม่ดีนี่ เป็นยังไง ? สภาพจิตขณะนั้นดีหรือไม่ดี ? เวลาว่าง สภาพจิตดีไหม ? ดี เวลาไม่ว่าง ดีไหม ? ก็ไม่ดี ทุกคนจะรู้สึกเหมือนกัน รู้สึกดีหรือไม่ดี ตรงนั้น คือลักษณะเดียวกัน เป็นสภาวธรรม ตรงที่เราเห็นว่าว่าง รู้สึกดียังไง อันนี้ ก็ยัง “รู้สึก” แตกต่างกันอีกนิดหนึ่ง
ที่บอกว่า ให้กาหนดรู้ถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ เมื่อก่อนเราแค่แยก รูปนาม พอแยกจากกันแล้ว รู้สึกไม่มีตัวตน รู้สึกเบา ต่อไปที่บอกว่า แม้แต่ ดูที่แขน ที่ตัว ที่หัว ที่ไหล่ แต่ละจุด รู้สึกว่ามีเราไหม ? บอกว่าเป็นเราไหม ? ขณะที่ไม่บอกว่าเป็นเรา ตาแหน่งนั้นเปลี่ยนไปอย่างไร ? ทีนี้ก็มาพิจารณา เรื่องของขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น เวทนาที่เกิดขึ้นเขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? จิต ที่ทาหน้าที่รู้เวทนา เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? พิจารณาแล้ว รู้สึกว่าเป็น เราหรือเปล่า ? เราพิจารณาเพื่ออะไร ? พิจารณาแล้วผลเป็นอย่างไร ? เมื่อ กาหนดรู้แบบนี้ ทาให้สภาพจิตเราเป็นอย่างไร ? นั่นคือสิ่งที่โยคีต้องสังเกต ว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่าเวทนาไม่บอกเป็นเราปุ๊บ รู้สึกอย่างไร ? ถ้าบอกว่าเป็นเราปุ๊บ รู้สึกอย่างไร ?
สัญญาก็คือ ความจาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เรื่องราวต่าง ๆ จริง ๆ แล้ว ความจากับความคิด สัญญากับสังขาร เป็นอะไรที่ต่อเนื่องกัน ลองดูว่า เรื่อง ราวที่เกิดขึ้น เขาบอกว่าเป็นเราไหม ? เป็นของเราหรือเปล่า ? หรือเกิด


































































































   366   367   368   369   370