Page 397 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 397

373
บอกแค่ว่าทุกอย่างดีไปหมด แต่เอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าเป็นบรรยากาศของความรู้สึกหรือสภาพจิตเรา เราจะเอาไปใช้งาน
ได้ แต่ถ้าเป็นบรรยากาศข้างนอก ว่าง ๆ สงบ เราเอาตรงนั้นไปใช้งานไม่ได้ เพราะนั่นไม่ใช่จิตของเรา แต่ถ้าความสงบนั้นเกิดจากจิตของเราที่สงบ แล้ว ทาให้บรรยากาศนั้นสงบด้วย ความสงบนั้นเราจะใช้ประโยชน์ได้ เพราะ ฉะนั้น ที่ถามว่า จะเติมความสงบไปที่ไหน ? ก็เติมไปที่ความรู้สึกนั่นเอง เติม ให้จิตเราสงบมากขึ้น ถามว่า เติมไปที่ตรงไหนจะชัดที่สุด ? บริเวณหทัยวัตถุ เราจะเห็นชัด อย่างเวลาอิ่มใจ บริเวณนี้ก็จะอิ่ม มีความสุข บริเวณนี้ก็จะ ชัด มันชัดออกจากตรงนี้ แล้วก็จะกว้างขึ้น จะได้เห็นชัดขึ้น
แล้วถ้าที่รูปมีความชัดเจน เราจะยกจิตได้ง่าย แค่เข้าไปรู้มันก็ เปลี่ยนแล้ว แต่ถ้าที่รูปไม่มีอะไรเลย จะยกจิตได้ยากนิดหนึ่ง รู้สึกว่าง ว่าง ที่ไหน ? รู้สึกสงบ สงบที่ไหน ? รู้สึกเบา ตาแหน่งไหนเบาชัดที่สุด ? ตาแหน่ง ไหน การยกจิตเราก็ไปรู้ตรงนั้นแหละ แป๊บเดียว! เพราะฉะนั้น การพิจารณา สภาวะที่เกิดขึ้น การกาหนดอารมณ์ในขณะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด ในอิริยาบถย่อยต่าง ๆ ให้มีสติรู้... เรารู้วิธีกาหนด วิธีปฏิบัติ วิธี สังเกตแล้ว
อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เรื่องความรู้สึกว่ามีพลัง เวลาเราปฏิบัติ รู้สึก จิตเรามีพลังขึ้น มีพลังขึ้น... ตรงนี้ให้สื่อนิดหนึ่งว่า จิตที่มีพลังเป็นอย่างไร รู้สึกหนักแน่นขึ้น มั่นคงขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น จิตตั้งมั่นมากขึ้น หรือเป็นอย่างไร ต้องสังเกตตรงนี้ ถ้าใช้ตัวนี้ เราจะกาหนดอาการได้ชัด แต่ถ้ารู้สึกจิตมีพลัง วาบ วาบ วาบ วาบ... ที่วาบ ๆ นั่นเป็นลักษณะของอาการเกิดดับอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอาการวาบ วาบ ขยายออก หรือพุ่งวาบเข้ามา พุ่งเข้ามา พุ่งเข้า มา นั่นก็คืออาการเกิดดับ เพียงแต่ว่าเมื่อเราเห็นอาการพุ่งเข้ามาเรื่อย ๆ จิต เราจะตื่นตัวและมีกาลังขึ้น
สังเกต ขณะที่จิตเรารู้สึกตื่นตัวขึ้น ตื่นตัวขึ้นนั้น อาศัยอาการเกิดดับ


































































































   395   396   397   398   399