Page 400 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 400

376
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องรู้ว่าสภาพจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่ พอเบลอ ๆ ก็สรุปเลยว่าอ่อนแรงอีกแล้ว ขอไปเพิ่มพลังก่อน ไปดื่มน้าปานะ ก่อน เพราะฉะนั้น จึงบอกว่าเวลาเล่าสภาวะหรือส่งอารมณ์ อย่างเช่น วันนี้ สภาพจิตไม่รู้เป็นอะไร มันไม่ค่อยตื่นตัว สลัว ๆ มัว ๆ เฉื่อย ๆ ส่วนใหญ่ พอไม่ตื่นตัวก็จะรู้สึกเนือย ๆ เฉื่อย ๆ แต่เมื่ออาการเหล่านั้นเกิดขึ้นก็ต้อง พยายามที่จะกาหนด ไม่ใช่ว่าเนือย ๆ เฉื่อย ๆ แล้วก็ไปด้วยกันเลย ไม่เอาดี กว่า ไม่กาหนดดีกว่า ตอนนี้จิตเราไม่ตื่นตัว เอาไว้ตื่นตัวก่อนค่อยดู... เดี๋ยว ก็ได้กลับไปตื่นตอนนู้นเลย ไม่ใช่ไปตื่นข้างหน้านะ กลับไปตื่นใหม่ พอมา เนือย ๆ เฉื่อย ๆ อีก ก็เอาไว้ก่อน พักไว้ก่อน
ที่จริงพอรู้สึกจิตไม่ตื่นตัว รู้สึกเนือย ๆ เฉื่อย ๆ ลองสังเกตดู รูป เฉื่อยหรือความรู้สึกเฉื่อย ? ถ้าความรู้สึกเราเฉื่อย ความรู้สึกอยู่ตรงไหน ? ที่รูปหรือบริเวณใกล้ ๆ รูป ? ถ้ามันอยู่บริเวณใกล้ ๆ รูป แต่ดูในรูปจริง ๆ ก็ว่าง ๆ ไม่มีอะไร ดูในรูป รูปก็สงบ แต่รอบ ๆ รูปมันเฉื่อย ๆ มัว ๆ แล้ว ทาให้รูปเฉื่อย ๆ ไม่ตื่นตัว ลองขยายตัวนี้ให้กว้างออกไป กว้างออกไป... ทา ซ้า ๆ ๆ อย่าไปคิดว่าทาทีเดียวแล้วมันจะหาย ตื่น ยิ้มแฉ่ง ไม่ใช่หรอก! ทาซ้า ๆ ไม่ใช่ว่า โห! กาหนดตั้ง ๓ ครั้งถึงจะหาย... แค่ ๓ ครั้งเอง! ถ้า ๓ ครั้งหายถือว่าเก่ง อย่าไปคิดว่าตั้ง ๓ ครั้ง ๓ ครั้งก็เป็นเรื่องใหญ่แล้ว บางทีกาหนดทั้งบัลลังก์ยังไม่หาย ต้องทาซ้า นั่งกาหนดซ้าแล้วซ้าอีก ซ้าแล้ว ซ้าอีก...
จดุทเี่ราต้องสงัเกตกค็อืวา่ถ้าเรากาหนดครงั้แรกแล้วมอีาการขยบันิด หนึ่ง นั่นคือเราสามารถกาหนดได้ และให้ทาซ้าต่อไป ไม่ใช่กาหนดครั้งแรก แล้วขยับนิดหนึ่ง ก็คิดว่าแย่แล้ว กาลังไม่พอ! ขยับนิดหนึ่งเหมือนเรายก ของหนักนั่นแหละ พอเขาขยับปุ๊บ รู้สึกเราสามารถเคลื่อนเขาได้ บอกเลยว่า เราต้องทาได้ แต่ถ้าอันไหนที่ออกแรงแล้วไม่ขยับเลย อันนั้นแสดงว่าเราทา ไม่ได้จริง ๆ สภาวะเหล่านี้ก็เหมือนกัน ถ้ากาหนดแล้ว เขาไม่มีการขยับเลย


































































































   398   399   400   401   402