Page 412 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 412

388
มีต่อไป รู้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น จึงเน้นอาการพระไตรลักษณ์ สังเกต อาการเกิดดับให้เยอะ เมื่อไหร่ก็ตามที่โยคีรู้สึกว่า นั่งแล้วอาการเกิดดับมัน เหมือนเดิม เหมือนเดิม... ลองสังเกตใหม่ สังเกตให้ดี สังเกตให้ดีอีก... จาก ที่เราเห็นว่าเหมือนเดิม ลองสังเกตดี ๆ
ขณะที่เราสังเกตดี ๆ อะไรเกิดขึ้น ? เวลาเราสังเกตอาการเกิดดับ จากที่เราดูธรรมดา พอเราเพิ่ม “ตัวสังเกต” ปุ๊บ ตรงที่ตามมาคือการเพิ่ม ตัวสติและสมาธิ พอเราตั้งใจปุ๊บ สติก็จะมีกาลังขึ้น สมาธิก็จะเพิ่มขึ้น มัน อาจจะเพิ่มขึ้นครั้งละนิดหนึ่ง นิดหนึ่ง บางทีแค่นิ่งนิดเดียว แล้วก็หายอีกแล้ว พอนิ่งใหม่ หายอีกแล้ว ก็นิ่งใหม่ สังเกตใหม่ซ้า ๆ ทาซ้า ๆ ถ้าสังเกตแล้ว เขายังมีการเปลี่ยนแปลง มีแล้วหายอยู่เรื่อย เพราะฉะนั้น ต้องทาซ้า
การทาซ้า คือการปฏิบัติ คือการกาหนดรู้ใหม่ รู้ใหม่... พอรู้ซ้า ๆ สมาธิจะเพิ่มขึ้นทีละขณะ ทีละขณะเล็ก ๆ ตรงนี้เขาเรียก “ขณิกสมาธิ” สติ เราก็จะเพิ่มขึ้น ขณิกสมาธินี่แหละ เพิ่มทีละนิด ทีละนิด... แต่ถ้าบ่อย ๆ เขา เปรียบเทียบเหมือนน้าฝนที่ตกลงมา ตกทีละเม็ด ทีละเม็ด แต่ถ้าตกใส่ ถังเดิม เดี๋ยวมันก็เพิ่มขึ้นเอง สติของเราก็เหมือนกัน พอเรานิ่ง กาหนด รู้ทีละขณะ ทีละขณะ ทีละขณะ พอใจที่จะรู้อยู่เรื่อย ความสงบก็จะชัดขึ้น ชัดขึ้น กาลังก็จะเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เป็นกาลังที่มั่นคงหนักแน่นขึ้น อาการก็ เปลี่ยนอีก
เพราะฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติ อย่ากังวล เห็นสภาวะแบบไหนเกิดขึ้น ให้รู้ชัดว่าเป็นอย่างนั้น เขาเปลี่ยนยังไงก็รู้ชัดว่าเป็นอย่างนั้น สิ่งที่ต้องสังเกต ซึ่งก็พูดย้าพูดบ่อยเหมือนกันว่า เรารู้ “ขณะใหญ่” คือสภาพจิตโดยทั่วไป “ขณะเล็ก” คือแต่ละขณะเขาเกิดดับอย่างไร พอเห็นอาการเกิดดับเปลี่ยนไป สภาพจิตเป็นยังไง อาการเกิดดับของอะไร อาการเกิดดับที่เกิดขึ้นมา เหมือนเดิมหรือต่างจากเดิมอย่างไร


































































































   410   411   412   413   414