Page 413 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 413

389
ที่พูดถึงอาการเกิดดับตรงนี้ก็เหมือนกัน พอเราใช้คาว่า “อาการเกิด ดับ อาการเกิดดับ” แต่ตัวที่หายไปก็คือว่าเป็นอาการเกิดดับของอะไร ถ้ารู้ ว่าอาการเกิดดับของรูปนามก็ยังแคบอยู่ ถ้าเราบอกขณะนั้นเป็นอาการเกิด ดับของเสียง เป็นอาการเกิดดับของเวทนา เป็นอาการเกิดดับของความคิด เป็นอาการเกิดดับของสีหรือแสงที่เกิดขึ้น หรือเป็นอาการเกิดดับของจิตที่ไป รู้เสียง เป็นอาการเกิดดับของจิตที่ไปรู้เวทนา ถามว่า รู้อาการดับของจิตที่ ไปรู้เวทนา เราเห็นจิตอย่างเดียวหรือเปล่า ? ต้องเห็นทั้งเวทนาด้วย ต้อง อาศัยกัน
อย่างเช่น บางคนนั่งในนี้เงียบ ๆ เสียงนาฬิกานี่ดีนะ ให้อารมณ์ กรรมฐาน เขาดังแก๊ก ๆ ๆ ๆ ตลอดเลย และไม่รบกวน เสียงนาฬิกาไม่ รบกวน แต่เสียงกรนรบกวน! เสียงนกไม่รบกวนเพราะเราถือว่าเป็นเสียง ธรรมชาติ ความคิดอย่างหนึ่งที่ว่า เสียงนกเป็นเสียงธรรมชาติ เสียงกบ เขียดเป็นเสียงธรรมชาติ แต่เสียงคนไม่ใช่เสียงธรรมชาติ คนเลยไม่ใช่เป็น ธรรมชาติ จริง ๆ คนก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่เสียงมันรบกวนเพราะ เรารู้ภาษา เรารู้เรื่อง รู้ว่าพูดอะไร รู้ว่าเสียงนี้มาจากอารมณ์แบบไหน ก็เลย รู้สึกว่ารบกวนจังเลย
แต่ถ้าเรารู้แต่ว่าเสียงนี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เราก็เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่ง ความหงุดหงิดก็อาจจะน้อยลง ความราคาญอาจจะน้อยลง แต่มัน อดไม่ได้เพราะเรารู้ เพราะความรู้ของเราทาให้เราหงุดหงิด ใช่ไหม ? แปลก นะ เพราะความรู้ของเราทาให้เราหงุดหงิด พอรู้แล้วโง่ไม่ได้ด้วยนะ รู้แล้วนี่ ทาเป็นแกล้งไม่รู้ไม่ได้ด้วย จริง ๆ แล้วเราแกล้งไม่รู้ “ยกจิตของเรา มอง ข้ามอารมณ์” ให้เรามองดูว่า อ้อ! เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ธรรมชาติของ สิ่งนั้น ธรรมชาติของสิ่งนี้ ธรรมชาติของเรา ธรรมชาติของเขา
ธรรมชาติของเรา เอ! ทาไมช่วงนี้สภาพจิตเป็นแบบนี้ ? พอสภาพจิต เป็นแบบนี้ เราแก้ยังไง ? บางทีอยู่ ๆ อารมณ์ไม่เกี่ยวกับเราก็เข้ามาถึงใจ ไม่


































































































   411   412   413   414   415