Page 50 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 50

26
สังเกตดูว่า เราไปยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ พระพุทธเจ้าแค่ แย้มพระโอษฐ์ ไม่ยิ้มเห็นฟัน เราก็อยากให้พระเป็นอย่างนั้นทั้งหมด แต่ ด้วยสภาพจริง ๆ แล้ว โดยอุปนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราเห็น ตัวอย่างเราก็อยากให้พระเป็นอย่างนั้น เดินก็ต้องสารวม ต้องระวัง แต่ต้อง สารวมนะ ไม่สารวมไม่ได้ ดูไม่งดงาม โยมเขาตาหนิเอา ทาไมเดินไม่สารวม เลย ! เพราะว่าพระ โยมเขายกเอาไว้ เหมือนผู้หญิง จะนั่ง จะลุก จะเดิน ต้องระวัง ทาอะไรแข็ง ๆ กระด้างก็ดูไม่ดี พระนี่ก็ห้ามวิ่ง วิ่งไม่ได้ ใส่ผ้าถุง เหมือนผู้หญิงเลย เดี๋ยวนี้ผู้หญิงใส่กางเกง เขาก็วิ่งได้แล้ว แต่พระนี่ใส่ ผ้าถุง เพราะฉะนั้น การสารวมกาย สารวมวาจา ให้เหมาะสมกับสถานที่ เขามีข้อห้ามตั้ง ๗๐ กว่าข้อสาหรับพระนะ ๗๐ กว่าข้อที่นอกปาฏิโมกข์ด้วย
สมัยก่อนก็มีพระบางรูปไม่สุภาพ สมัยพระพุทธเจ้ายังอยู่ก็มี เพราะ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติขึ้นทุกข้อ บัญญัติขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าโยมเอาไป ใช้ได้ก็ดี ช่วยกันสารวม สารวมกาย สารวมวาจา สารวมใจ ไม่ให้เกิดปัญหา ถ้าต่างคนต่างสารวมกาย สารวมวาจา สารวมใจ อยู่ในศีลในธรรม สังคม เราก็จะดูสงบ ดูเรียบร้อย เหมือนสังคมพุทธจริง ๆ ถ้าเราไม่สารวมกาย ไม่สารวมวาจา ไม่สารวมใจ ก็จะวุ่นวายเหมือนทุกวันนี้แหละ วุ่นวายไม่มีที่ สิ้นสุด เพราะใจวุ่นวาย เริ่มจากใจวุ่นวาย สังคมก็วุ่นวาย
เพราะฉะนั้นนี่ การชาระจิตของตนให้ขาวรอบ เราก็ต้องพอใจ ตอนนี้ สะอาดแล้วนะ วันนี้สะอาดขนาดนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ต้องทาให้มากกว่านี้ ตอนนี้ ใจเราว่าง ขณะนี้ใจเราเบา โปร่ง สว่าง เดี๋ยวพรุ่งนี้ต้องทาให้ดีขึ้น ตอนนี้ ใจเราสงบแล้ว พรุ่งนี้ต้องทาให้มากกว่านี้ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต้องพอใจ รู้จัก พอใจในตัวเอง รู้จักพอใจในพัฒนาการของตัวเอง ถ้ามันลดลงบ้างก็ ไม่เป็นไร ให้โอกาสตัวเองได้ทาความดีใหม่ เอาใหม่ เริ่มต้นใหม่ นั่นดีแล้ว
บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมที่มีเจตนา และตั้งใจปฏิบัติธรรมที่เป็นไป เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อมรรค ผล นิพพาน และกาลังปฏิบัติอยู่ เขาเรียกว่า


































































































   48   49   50   51   52