Page 48 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 48

24
ไม่ลาเอียงเข้าหาตัวเองและผู้อื่น แล้วเราก็จะมีคาตอบ และเราก็แก้ได้ เหมือนสภาวะที่เกิดขึ้น เวลาเรามุ่งเข้าไปที่อาการเกิดดับ เวลากาหนด ลมหายใจ หรือเวทนาก็ตาม พอเรามุ่ง มุ่ง แล้วรู้สึกปวดมาก ๆ เราก็รู้ว่า ต้องทายังไง ไม่ไหวแล้ว ถอย! ใช่ไหม ? ไม่ไหวแล้ว สู้เวทนาไม่ไหว ถอย ออกมาดีกว่า เพื่ออะไร ? เพื่อจะได้ไม่ทุกข์ อารมณ์ภายนอกก็เหมือนกัน อันไหนที่ทาให้เราทุกข์มาก ๆ เราก็คลุกคลี ๆ เข้าไป เราก็ไปเกาะติดกับเขา เราก็ทุกข์อยู่นั่นแหละ ทาไมไม่ถอยออกมา ? แต่ถอยยากอ่ะนะ อันนั้น เวทนาทางใจ กับเวทนาทางกาย จริง ๆ ไม่ยากหรอก ถ้าเราแยกรูปนาม อย่างนี้ได้ เราทาไม่ยาก ถอยไม่ยาก วิธีที่สอนไปแล้วนั่นแหละ ทาได้ทุกคน ทาได้ทุกคน อยู่ที่ว่าใครจะเอาไปใช้ หมั่นระลึกถึงบ่อย ๆ เราทา บ่อย ๆ ให้ชานาญ ให้ชานาญ ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ อย่าเป็นผู้ฝึกหัดอย่างเดียว แต่เราก็ต้องรู้ ถ้าเรากาลังฝึกอยู่ เราก็ต้องรู้ว่าเรากาลังเป็นผู้ฝึกอยู่ เป็นผู้ ใหม่ เมื่อเป็นผู้ใหม่ก็ใส่ใจมาก ๆ ใส่ใจมาก ๆ ฝึกบ่อย ๆ ทุก ๆ เวลา แต่ ถ้าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญแล้ว เขาก็ไม่ฝึก ก็ไม่เป็นไรหรอก... “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ใช่ไหม ? ประมาทไม่ได้ ! ถึงแม้จะเชี่ยวชาญแล้วก็
ทุกข์เป็น บางทีเผลอ.. ก็ทุกข์ จึงต้องพิจารณาบ่อย ๆ พิจารณาเนือง ๆ การปฏิบัติธรรม เขาเรียก “เจริญสติวิปัสสนา” การฝึกจิต จึงต้องทา บ่อย ๆ เพราะจิตเราเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน บางทีเรามีสติดีนะ เราว่าเราคอย ดูตลอดเวลา ไม่รู้เขามาตอนไหน ไม่รู้เลย อยู่ ๆ อ้าว! เห็นแล้ว คิดไปตั้ง นานแล้ว เห็นไหม.. เป็นความละเอียดอ่อนมาก ๆ กิเลสของเราก็เหมือนกัน กิเลสเขาก็จะมีความละเอียดอ่อน ฉลาดมาก ๆ เพราะฉะนั้น เราต้องพัฒนา ปัญญาของเราให้ฉลาดกว่ากิเลส บางทีเรานั่งกาหนดอยู่ คิดเรื่องความเป็น กุศล ดีใจจังเลย คิดไป ๆ คิดความเป็นกุศลอยู่ดี ๆ มารู้อีกที.. อ้าว ! คิด เรื่องอกุศลตอนไหนแล้ว เห็นไหม..เผลอแป๊บเดียวเขาแทรกเข้ามา บางที อาศัยความดี อาศัยตอนที่เราเผลอ ก็เข้ามาแล้ว จึงต้องฝึกบ่อย ๆ ต้อง


































































































   46   47   48   49   50