Page 46 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 46

22
ตอนนี้ ? ความสงบเรายังอยู่ไหม ? ไปดูที่จิต ถ้าเริ่มลดลง น้อยลง เข้าไป ข้างในอีก เข้าไปในความสงบนั้นอีก แล้วก็ปล่อยให้กว้างขึ้น นั่นแหละวิธี รักษาความสงบ วิธีทาให้ความสงบตั้งอยู่ได้นาน อันนี้เป็นสมถะนะ ความ สงบนี้ จัดเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความสงบ เพื่อให้ปัญญาเราเข้าใจ ในสภาวธรรม ธรรมชาติของรูปนามได้มากขึ้น
ธรรมชาติของรูปนาม ทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นทั้งโลกนี้และโลกอื่น พระพุทธเจ้าบอกว่า สภาวธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในกฏของไตร- ลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ เกิดขึ้นมาแล้วต้องมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นมาแล้วบังคับบัญชา ไม่ได้ ไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของเรา และสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีอะไรเป็นของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเราสงบ เรามาพิจารณาคาสอน พระพุทธเจ้าตรงนี้
ที่บอกว่า “ไม่เที่ยง” มีลักษณะอย่างไร ? เกิดขึ้นแล้วดับไป ดับใน ลักษณะอย่างไร ? เกิดอย่างไร ? ดับอย่างไร ? ที่บอกว่า “ไม่มีตัวตน ไม่มี เรา ไม่มีเขา” เป็นอย่างไร ? วิปัสสนาจึงกลับมาดูที่อาการพระไตรลักษณ์ ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามขันธ์ ๕ “ดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามขันธ์ ๕” พิจารณาถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คาว่า “ทุกข์” ไม่ใช่เจ็บปวดอย่างเดียว คาว่า “ทุกขัง” ที่จะพาให้เรา ไปสู่มรรค ผล นิพพาน หรือการที่ไม่ยึดติด คือลักษณะของอารมณ์ที่ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป ไม่ใช่เอาทุกข์ขังอยู่นาน ๆ นะ ส่วนมากเรา “ขัง” ทุกข์เอาไว้ ทุกข์ไม่ได้ขังเราหรอก เรานั่นแหละขังเอาไว้ ปวดแล้ว... “ทา ยังไง ? จะออกได้ยังไง ?” พอปวด..ใจไม่สบาย “ทายังมันจะออก ?”
ที่เราขังทุกข์เอาไว้ ๑. ทุกข์ใจที่อยู่กับเรานาน เวลาเราทุกข์ใจขึ้นมา เราจะไม่ได้ค่อยคิดหาวิธีดับทุกข์ สังเกตไหม ? มีแต่คิดเรื่องที่ทาให้เรา


































































































   44   45   46   47   48