Page 502 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 502

478
เรียกที่เป็นสานวนโวหารต่าง ๆ บางครั้งไม่มีสภาวะรองรับ แต่เราก็พยายาม โยงเข้าไป เลยรู้สึกว่าไม่ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น จึงเข้าใจคลาดเคลื่อน
แต่ถ้าเราพิจารณาจริง ๆ เราเอาสภาวะเราเอาความจริงมาเป็นที่ตั้ง สภาวะความจริงตรงนี้ก็คือ อาการของรูปนามที่ปรากฏ อย่างเช่น ลักษณะ ของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ลักษณะของความเป็นอนัตตา ลักษณะของ ความทุกข์หรือทุกขลักษณะ อาการที่เกิดขึ้นให้รู้ว่าเป็นทุกข์ ที่เกิดแล้ว ดับไป และการพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ตรงนี้ ที่บางทีโยคีรู้สึกว่าเห็น เกิดดับแล้วก็อย่างงั้น ๆ เห็นแล้วทาไมเหมือนเดิม เหมือนเดิม... อาการ เกิดดับที่เกิดขึ้นที่เราต้องพิจารณา ทาไมเราถึงต้องพิจารณาอาการพระ ไตรลักษณ์ ?
เคยพูดหลายครั้งแล้วว่า อาการพระไตรลักษณ์คือการเกิดดับของ ทั้งรูปและนาม ทั้งอารมณ์ภายในและอารมณ์ภายนอก อันนี้คือส่วนสาคัญ ทั้งในอิริยาบถหลักและอิริยาบถย่อย อย่างที่บอกว่าเป้าหมายของการปฏิบัติ ของเราเปน็ไปเพอื่ขัดเกลาจติใจของเราเรากาหนดรอู้าการเกิดดับของอารมณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ เพื่ออะไร ? เพื่อขัดเกลาจิตใจของเรา เพราะ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องสังเกตควบคู่กันเสมอ หรือสิ่งที่เราต้องรู้ หรือจุดที่เราต้อง ใส่ใจ จึงมีอยู่สองอย่าง หนึ่ง ลักษณะอาการพระไตรลักษณ์ สอง สภาพจิต
นี่คือจุดหลักเลย สิ่งที่ต้องสังเกต สิ่งที่ต้องจา สิ่งที่ต้องใส่ใจ เวลาเรา กาหนดรู้อาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา เมื่อตามรู้อาการ เกิดดับนั้นไปเรื่อย ๆ จนอาการเกิดดับนั้นสิ้นสุดลง สภาพจิตเปลี่ยนไป อย่างไร ? อันนี้อย่างหนึ่ง เราสังเกตจุดสิ้นสุดของอาการ เมื่ออาการเกิดดับ สิ้นสุดลง เราก็สังเกตว่า สภาพจิตเปลี่ยนไปอย่างไร ? อีกอย่างหนึ่ง ขณะที่ กาลังตามรู้อาการเกิดดับหรือเกาะติดอาการเกิดดับ เราเห็นถึงลักษณะอาการ เกิดดับที่เปลี่ยนไปว่าต่างกันอย่างไร ? และขณะที่เปลี่ยนไป ให้ความรู้สึก เป็นอย่างไร ?


































































































   500   501   502   503   504