Page 56 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 56

32
ถ้าไม่มีอารมณ์ เขาไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีอารมณ์หลัก เขาก็จะแสวงหาอารมณ์ อื่น เพราะฉะนั้น จึงต้องมีอารมณ์หลักให้จิตได้เกาะ ได้ตามรู้
อารมณ์หลักในที่นี้ก็คือ อาการของลมหายใจเข้าออก ถามว่าอารมณ์ หลักอยู่ ๆ เขาเกิดขึ้นมาเอง หรือว่าอย่างไร อารมณ์หลักที่ปรากฏขึ้นมา.. ลมหายใจของเรา ลมหายใจเข้าออกนี่เป็นธรรมชาติของคนเรา เป็น ธรรมชาติของทุกคน ต้องหายใจ ถ้าใครไม่หายใจก็ผิดธรรมชาติ เป็น อารมณ์ธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ทีนี้เวลาฝึก เราก็มีเจตนาเข้าไป บุคคลผู้เจริญ สติต้องมีเจตนา ตัวเจตนานี่ตัวสาคัญ ตัวเจตนาคือ “กรรม” เจตนาคือกรรม เจตนาที่จะรู้อาการของลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ รู้ชัด หายใจออกก็ รู้ชัด หายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว หายใจเข้ายาวก็รู้ว่ายาว หายใจออกสั้นก็รู้ ว่าสั้น หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าสั้น
แม้แต่การกาหนดลมหายใจ ต้องมีเจตนาที่จะรู้ว่าอาการของ ลมหายใจเราเป็นอย่างไร มีการเกิดดับในลักษณะอย่างไร เพราะอะไร เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราทาสิ่งต่าง ๆ กาหนดรู้อารมณ์ด้วยเจตนา มีเจตนา ที่จะรับรู้ จิตของเราจะตื่นตัว สติของเราก็จะดี ขณะที่เรามีเจตนาที่จะตาม กาหนดรู้การเกิดดับ การเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ จิตเราจะตื่นตัว ต้องมี เจตนานะ ไมใ่ ชส่ กั แตว่ า่ ตามรู้ ถา้ สกั แตว่ า่ ตามรเู้ ฉย ๆ สกั แตว่ า่ รวู้ า่ หายใจเขา้ หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก ไม่นาน.. เดี๋ยวก็หลับ เพราะว่าจิตของ เราจะมีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรก ถ้าไม่มีเจตนาที่จะตามรู้การเปลี่ยนแปลง หรืออาการเกิดดับของลมหายใจ เมื่อลมหายใจบางลง เบาลง ก็จะมีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรก อันนี้คือ “การกาหนดดูกายในกาย”
อาการของกายอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการเคลื่อนไหวที่ท้อง ที่เรียกว่า “อาการพองยุบ” เวลาเราหายใจเข้า อาการที่ท้องพองออก หายใจออก ท้อง ยุบลง อันนี้ก็คืออย่างหนึ่ง อาศัยลมหายใจเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาการไหน จะปรากฏชัดสาหรับเรา อันนี้เฉพาะคนนะ บางคนชัดเฉพาะลมหายใจเข้า


































































































   54   55   56   57   58