Page 57 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 57

33
ออก ตามลมหายใจได้ แต่ไม่รู้ชัดถึงอาการกระเพื่อมที่ท้อง หรืออาการ พองยุบ แต่เห็นอาการหายใจเข้าออกชัด เพราะฉะนั้น บางคนเห็นแต่อาการ เคลื่อนไหวที่ท้อง หายใจเข้า ท้องพองออก หายใจออก ยุบลง ก็กาหนด อาการนั้นไป ไม่เห็นว่าเวลาหายใจเข้า เข้าอย่างไร ออกอย่างไร แต่รู้เฉพาะ อาการเคลื่อนไหวที่ท้องเท่านั้น นั่นคือทาไมเราจึงเห็นว่าการกาหนดอารมณ์ ต่าง ๆ มีวิธีการ บางแห่งก็กาหนดพองยุบ บางแห่งกาหนดลมหายใจเข้าออก
อาการของกายอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะมีการเต้นของหัวใจ อยู่ ๆ พอ นั่งเงียบ อาการเต้นของหัวใจปรากฏชัดขึ้นมา การเต้นของหัวใจก็คือ อาการ ของรูปนั่นเอง ไม่ว่าจะเต้นในลักษณะไหนก็ตาม นั่นคืออาการดูกายในกาย เพราะฉะนั้น การกาหนดดูกายในกาย เจตนาของเราต้องชัดว่ากาหนดรู้ถึง อาการพระไตรลักษณ์ ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเรียกว่ากาหนด อาการเกิดดับของอารมณ์นั้น ๆ ของลมหายใจ ของพองยุบ ของอาการเต้น ของหัวใจ นั่นคือการกาหนดดูกายในกาย
ทีนี้มีข้อสงสัยว่า แล้วการพิจารณาดูอสุภะ ดูความไม่งดงาม ไม่ สวยงามในร่างกายของเรา อย่างเช่นพิจารณาดูเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หมายถึงว่า ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เอ็นในกระดูก ม้าม หัวใจ พังผืด ไต ปอด พวกนี้.. ที่เขาพิจารณาอย่างนั้น เรียกว่ากาหนดดูกายใน กายด้วยไหม เรียกได้ว่า “กาหนดดูกาย” แต่เป้าหมายคือการกาหนดรู้อสุภะ เขาเรียก “ดูอสุภะ” คือความไม่งดงามของร่างกาย เพื่อที่จะได้ละความยินดี พอใจในร่างกายอันนี้ เพื่อที่จะได้ละความยินดีพอใจในร่างกาย เพื่อที่จะได้ ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายอันนี้ว่าเป็นของสวยงามน่าหลงใหล น่ายึดติด ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเสื่อมไป สลาย ไป เป็นธรรมดา จะได้ไม่ยึดติด อันนั้นเขาเรียกว่า “กาหนดรู้อสุภกรรมฐาน” แต่ “วิปัสสนากรรมฐาน” การพิจารณารู้ถึงอาการเกิดดับของรูปนาม ที่บอก ว่าสติปัฏฐาน ๔ ถึง “ดูกายในกาย”


































































































   55   56   57   58   59