Page 58 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 58

34
ทีนี้มาดูเวทนาในเวทนา ต่อไปก็คือ “เวทนาในเวทนา” เวทนาเป็น อย่างไร เวทนาก็คือ อาการปวด ความปวด อาการเมื่อย อาการชา อาการคัน บางทีเวลาเรานั่งกรรมฐาน เมื่อเรานั่งไปสักพัก เวทนาก็จะปรากฏ ขึ้นมา ไม่ว่าจะปรากฏที่ตัว ที่ขา ที่ศีรษะ ที่แขน ที่ไหล่ ที่หลัง ไม่ว่าจะ ปรากฏที่ไหนก็ตาม จัดเป็นเวทนาทั้งนั้น ทีนี้เวทนาเหล่านี้เกิดขึ้น บางทีเรา รู้สึกว่าเวทนาที่เกิดขึ้นเป็นตัวรบกวนกรรมฐานของเรา เวทนาที่เกิดขึ้นมา รบกวนการเจริญกรรมฐาน รบกวนการนั่งสมาธิ ทาไมถึงรู้สึกอย่างนั้น
เป็นเพราะว่าเราเข้าใจว่า การเจริญสติกรรมฐานนั้นต้องกาหนด ลมหายใจอย่างเดียว เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ก็จะทาให้จิตใจเราไม่สงบ ทาให้ ใจเรากระสับกระส่าย จริง ๆ แล้วถ้าเราพอใจที่จะกาหนดรู้ เวทนาที่เกิด ขึ้นก็เป็นอารมณ์ของจิต เป็นอารมณ์ของกรรมฐานอย่างหนึ่ง เขาเรียกว่า “เวทนานุปัสสนา” เมื่อเรามีเจตนาที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของเวทนา เวทนานั้นแหละก็จะเป็นสิ่งดี ท่ีเป็นอารมณ์กรรมฐานของเราได้ เพราะ ฉะนั้นนี่ คืออยู่ที่เจตนา หรือความพอใจที่จะกาหนดรู้
เวทนาที่เกิดขึ้น ที่เป็นสภาวธรรม ที่เป็นอารมณ์กรรมฐานได้นั้น เวทนาเกิดในอิริยาบถไหน เกิดในเวลาไหนถึงจะเป็นอารมณ์กรรมฐานได้ เกิดเฉพาะเวลาเรานั่งอย่างเดียว หรือว่าเกิดทุก ๆ ขณะ ทุก ๆ เวลา เวทนา ที่เกิดขึ้นถึงจะจัดว่าเป็นอารมณ์กรรมฐาน เวทนาจะเกิดขึ้นที่ไหน เวลาไหน ก็ตาม เมื่อไหร่ที่เรามีเจตนาที่จะเข้าไปกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา นั่นแหละเรามีเจตนาที่จะเอาเวทนามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เมื่อ ไหร่เรามีเจตนาอย่างนี้ เวทนานั้นก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานได้ ไม่ว่าจะอยู่ใน อิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม ตรงนั้นจึงบอกว่าอยู่ที่เจตนา ที่เราจะ เข้าไปเอาอารมณ์นั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐานของเราหรือเปล่า
อีกอย่างหนึ่งก็คือ “ดูจิตในจิต” มี ๓ ขั้นตอนการดูจิตในจิต หนึ่ง ก็คือ กาหนดรู้เวลานั่งกรรมฐานแล้วมีความคิดปรากฏขึ้นมา อันนั้นคือการ


































































































   56   57   58   59   60