Page 70 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 70

46
ความร้อนก็ไม่เที่ยง ความเย็นก็ไม่เที่ยง อาการเคร่งตึงก็ไม่เที่ยง ความหนัก ก็ไม่เที่ยง ความเบาก็ไม่เที่ยง ความเป็นกลุ่มก้อนที่ปรากฏขึ้นมาก็ไม่เที่ยง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง หนัก เบา ลักษณะของธาตุทั้งหมด ความ ว่างยังเป็นอากาศธาตุเลย ช่องว่างระหว่างอารมณ์เรียกว่า “อากาศธาตุ” จิต ที่ทาหน้าที่รู้เขาเรียก “ตัวสติ” นั่นแหละ.. จิตที่ทาหน้าที่รู้ก็เกิดดับ เขาเรียก ว่า “วิญญาณธาตุ”
เห็นไหม.. ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา อยู่ที่เราพอใจ และมีเจตนาที่จะเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานหรือเปล่าเท่านั้นเอง อยู่ที่เรา มีเจตนาที่จะเอาอารมณ์เหล่านั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐานหรือเปล่า หรือเรา พอใจที่จะเจริญกรรมฐานมากน้อยเพียงไร หรือเรามีเป้าหมายที่จะเจริญ รอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรามากแค่ไหน ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อ ความพ้นทุกข์ เพื่อพ้นจากวัฏสงสาร เพื่อการไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตาย เกิด ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องหวาดผวาภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโลกนี้
ตอนนี้เราก็กลัวกัน.. กลัวดินถล่ม กลัวสึนามิ กลัวน้าท่วมโลก กลัว แผ่นดินไหว กลัวไฟไหม้.. สารพัด แล้วเราก็พยายามที่จะหาที่หลบ หาที่ไป ใช่ไหม.. ตื่นตัวกลัวกัน แต่พระพุทธเจ้าสอนวิธีอพยพหลบภัยตั้งแต่ ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้ว สอนวิธีอพยพหลบภัยอย่างไร ให้รู้วิธีดับทุกข์ เพื่อ ความพ้นทุกข์ เพื่อสิ้นสุดแห่งอาสวกิเลส เพื่อไม่ต้องมาเกิดอีก เพราะเกิด เมื่อไหร่ก็ต้องเจอภัยทั้งนั้น
เกิดเมื่อไหร่ก็ต้องเจอภัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของสัตว์ โลก เพียงแต่ว่าใครจะโชคดีเกิดยุคไหน จะได้มีประสบการณ์ที่แปลกใหม่ น่าตื่นเต้น น่าขวัญผวา หรือว่าเจอแต่ประสบการณ์ที่เย็น..ชืด..ไปเรื่อย ๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก ไม่มีโรค ไม่มีภัย มีแต่เฉย..เฉย.. อย่างเนี้ย ก็สบายไป หมด อันนี้แล้วแต่คน ไม่แน่หรอก คนเราไม่แน่ว่าจะเจออะไร ไม่ว่าจะเจอ อะไรก็ตาม ก่อนที่จะเจออะไรนั้นแหละ เราควรจะเจออะไรก่อน


































































































   68   69   70   71   72