Page 69 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 69

45
ของเรา ฝนตกก็เข้าร่ม แดดออกก็กางร่ม ร้อนก็หาที่เย็น
อีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะร้อนแค่ไหนก็ตาม ถ้าใจเราเย็น ความร้อนก็
ไม่เป็นไรหรอก ร้อนกายแต่ใจเย็น ถ้าเย็นกายใจร้อน ก็ยังเหงื่อไหลเลย เย็นกายใจร้อน เหงื่อก็ยังไหล แต่เหงื่อไหลใจเย็น ก็ยังเย็น จะเห็นเลยว่า ถ้าจิตเราสงบ ความร้อนจะอยู่นอกตัว ความร้อนจะอยู่รอบ ๆ เข้าไม่ถึง ข้างใน เมื่อเข้าไม่ถึงข้างใน ความร้อนอยู่รอบตัว เราจะวางตาแหน่งของ จิตเราอย่างไร เราต้องวางตาแหน่งของจิตตรงที่ไม่ร้อน คือข้างในนั่นเอง ให้จิตเราเข้าไปอยู่ในความไม่ร้อน ความร้อนข้างนอกก็จะเบาไป จิตเราก็จะ อยู่กับความสงบ ความเย็น ความสบาย เพราะในความร้อนก็มีความเย็น ให้ เลือกดูที่ความเย็น แทนที่ไปปฏิเสธความร้อน
ให้เลือกดูความเย็นแทนที่จะปฏิเสธความร้อน เพราะยิ่งปฏิเสธมัน ยิ่งร้อน เพราะอะไร จิตเราไม่สงบ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทาไม่ได้ก็เริ่ม ใหม่ หาสถานที่คอยช่วยด้วย หลบไปที่เย็นสักพักหนึ่ง พอใจเย็นก็ออกมา พออากาศเย็นเราก็ออกมา ทาตอนร้อนไม่ได้ไม่เป็นไร ก็ใช้เวลาช่วงเย็น ช่วง เย็นอากาศดีก็ทาตอนเย็น ช่วงเช้าอากาศดีก็ปฏิบัติช่วงเช้า ทาช่วงเช้า ช่วง เย็นก็หาสถานที่ให้เย็น จริง ๆ เหงื่อออกแล้วก็เย็น พอใจที่จะกาหนดรู้ ดู นี่แหละอาการของธาตุ
อีกอย่างหนึ่งก็คือ ที่บอกว่าการกาหนดรู้อาการของธาตุ ๖ สามารถ ไปสู่มรรคผลนิพพานได้ ธาตุ ๖ คืออะไร ธาตุ ๖ ก็คือ ธาตุไฟ ความร้อน ความเย็น ธาตุลม อาการเคร่งตึงต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา ธาตุน้า คือความ เป็นกลุ่มก้อนต่าง ๆ ธาตุดิน ความหนัก หรือความแข็ง ลักษณะของความ แข็ง ความหนัก อากาศธาตุ คือความว่าง วิญญาณธาตุ คือจิตที่ทาหน้าที่รู้ ครบหมดเลย
เรากาหนดรู้อย่างไร ก็คือกาหนดรู้อาการเกิดดับ ความไม่เที่ยงของ ธาตุนั้น ๆ แหละ แม้แต่ความว่างก็ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ


































































































   67   68   69   70   71