Page 67 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 67

43
อาการของรูปนามเหล่านั้น เขาเป็นอย่างไร ก็อยากรู้ว่าต่อจากนั้นเขาจะ เปลี่ยนอย่างไร คืออยากรู้อาการพระไตรลักษณ์ จิตจะไม่ขุ่นมัว หรือเศร้า หมอง เราพิจารณารู้ตามความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่อยากให้เขา เป็นอย่างไร แต่พิจารณาดูว่าเขาเป็นอย่างไร ตรงนี้สาคัญมาก ๆ นะ พิจารณาดูว่าเขาเกิดดับในลักษณะอย่างไร แต่ไม่ใช่อยากให้เขาเป็นอย่างนั้น อยากให้เขาเป็นอย่างนี้
การเจริญพลังก็เหมือนกัน เวลาเราเติมความสุข ก็ต้องดูที่ความสุข เติมความสุขเข้าไปในใจที่ว่าง ๆ เติมความสุขเข้าไปในใจที่เบา ก็ต้องดูว่า เมื่อเติมเข้าไปแล้ว ใจเราสุขขึ้นมาไหม ใจเรามีความสุขหรือเปล่า เติม ความสุขก็ต้องรู้ความสุข เติมความสงบก็ต้องดูความสงบ เติมความอ่อนโยน ก็ต้องไปรู้ถึงความอ่อนโยน ถ้าเติมความอ่อนโยน แล้วไปดูความว่าง ความ อ่อนโยนก็ไม่ชัด เพราะเราไปดูความว่าง ไม่ได้ดูความอ่อนโยน เติมความ สงบ แล้วไปดูความเบา ก็จะเห็นความเบามากกว่าความสงบ เราดูผิดที่
เพราะฉะนั้นนี่ เวลาเพิ่มพลังก็เหมือนกัน เติมพลังเข้าไปในจิตเรา เติมตัวไหนให้ดูตัวนั้น เติมความสุขก็ดูความสุข เติมความอ่อนโยนก็ดู ความอ่อนโยน ดูให้ถูกจุด ดูให้ตรงประเด็น เราทาอะไร ทาเพื่ออะไร ถ้าเรา อยากสงบ ก็ต้องดูว่าเราจะทาอย่างไรถึงจะสงบ ที่ไม่สงบเพราะอะไร เพราะ ฉะนั้นนี่ ความสงบของเรา ถ้ามีความอยากทันที พออยากมันจะยิ่งคิดยิ่ง กังวล ก็ต้องหยุดความอยากเสีย ให้ดูที่จิต ให้นิ่ง ๆ แล้วก็มาดูจิตที่อยาก ดับความอยาก แล้วก็ดูจิตตัวเอง พอเรานิ่ง เราดับความอยาก ก็เริ่มสงบ พอเริ่มสงบ ก็ดูที่ความสงบไปเรื่อย ๆ “ไม่ต้องอยาก” ปกติพอเรานิ่ง จิตก็ เริ่มสงบแล้ว หยุด.. แล้วก็ดูความสงบทีละนิด ทีละนิด ทีละนิด เดี๋ยวก็ เพิ่มขึ้นเอง
ถ้าอยากสงบ ให้ดูที่ความสงบ อย่าอยากอย่างเดียว จะวุ่นวาย จะ สับสน หรือเป็นนิวรณ์ เป็นความกระวนกระวาย เพราะไม่ได้ดั่งใจ บางครั้ง


































































































   65   66   67   68   69