Page 96 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 96

72
เป็นคนละส่วนกัน สังเกตดูว่าจิตรู้สึกเป็นอย่างไร มีความทุกข์กับเวทนาที่ เกิดขึ้นหรือไม่ ความคิดการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวสังขาร ปรุงแต่งอย่าง ไม่มีตัวตน แล้วรู้สึกเป็นอย่างไร นี่คือการกาหนดรู้ถึงความไม่มีตัวตนของ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖
กาหนดรู้ให้เห็นความไม่มีตัวตน ไม่ใช่คิดว่าไม่มีตัวตน คนละอย่าง กันนะ ถ้าเราแค่คิดว่าไม่มีตัวตน แล้วไม่เห็นถึงความไม่มีตัวตน ก็ยังมีความ ทุกข์อยู่ หนักอยู่ แต่ถ้ากาหนดรู้ถึงความไม่มีตัวตนในแต่ละขณะ ในแต่ละ สภาวะที่เกิดขึ้น จิตจะรู้สึกสงบ จิตจะรู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ ถึงแม้ไม่เห็นอาการ เกิดดับของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็รู้ชัดถึงความเป็นคนละส่วน ธรรมชาติของ จิตแยกส่วนกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะที่พิจารณารู้ถึงความไม่มีตัวตนบ่อย ๆ เมื่อมี “ความอยาก” เกิดขึ้น อยากอะไรก็ตาม อยากสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แล้วพิจารณาอยู่ว่า ความอยากนั้นมีตัวตนไหม มีเราเป็นผู้อยากไหม ถ้าไม่มีเราเป็นผู้อยาก ความอยากนั้นเป็นอย่างไร เขายังอยู่ได้ไหม หรือว่าหายไป
การพจิารณากาหนดรถู้งึความไมม่ีตวัตนบอ่ยๆจะทาใหเ้ราแยกออก ระหว่างความอยากกับความหิว ความต้องการของร่างกายกับความต้องการ ของจิตใจ อันไหนคือความต้องการของจิตใจ อันไหนคือความต้องการของ ร่างกาย ถ้าพิจารณารู้อย่างนี้เพิ่มขึ้น ความอยากที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นของ ร่างกาย เป็นอย่างไร ถ้าเป็นของจิตใจ เป็นอย่างไร อันไหนนามาซึ่งความ ทุกข์ อันไหนนามาซึ่งความดับทุกข์ อันไหนนามาซึ่งความทุกข์ใจ อันไหน นามาซึ่งความทุกข์กาย ส่วนมากความอยากทางใจนามาซึ่งความทุกข์ของ ร่างกาย
ความอยากทางร่างกายเป็นไปเพื่อความบรรเทาทุกข์ ร้อนมาก ๆ ก็ หาที่ร่ม ร่างกายมันประท้วง มันร้อน มันไม่ไหว ก็เลยเข้าหาที่ร่มเพื่อบรรเทา ทุกข์ ถ้าอยากมาก ๆ แล้วนามาซึ่งความทุกข์ เห็นอาหารอร่อย ๆ แล้วอยาก


































































































   94   95   96   97   98