Page 97 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 97

73
กินมาก ๆ กินแล้วก็รู้สึกอึดอัด ใช่ไหม ? ทั้ง ๆ ที่ไม่หิวหรอก แต่ “อยาก” ร่างกายมันไม่ได้หิว แสดงว่าร่างกายมันไม่ได้อยาก แต่ใจอยาก
เพราะฉะนั้น เราพิจารณารู้ถึงความไม่มีตัวตน แล้วจะรู้ว่า “อันไหน เป็นสิ่งจาเป็นต่อร่างกาย” “อันไหนเป็นสิ่งจาเป็นต่อจิตใจของเรา” “อันไหน นามาซี่งความทุกข์” “อันไหนนามาซึ่งความสุข” “อันไหนนามาซึ่งความสงบ” ถ้าเราพิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญาอย่างนี้ เราก็จะเลือกได้ถูกว่า ควรจะทา อะไร ไม่ควรทาอะไร ดังนั้น เราควรจะพิจารณาให้ดี
เราปฏิบัติธรรมมี ๒ ส่วน หนึ่ง.. “การเจาะสภาวะ” การกาหนดอาการ เกิดดับอย่างต่อเนื่องเพื่อมรรคผลนิพพาน อีกส่วนหนึ่ง.. ที่เราพิจารณารู้ถึง “ความไม่มีตัวตน” ของรูปนามอันนี้ แล้วสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา รอบ ๆ ตัวเรา อันไหนจาเป็น อันไหนไม่จาเป็น หรือควรปฏิบัติตัวอย่างไร ก็ใช้เหตุใช้ผลพิจารณา เขาเรียกว่าภาวนามยปัญญาส่วนหนึ่ง จินตมย- ปญั ญาสว่ นหนงึ่ สตุ มยปญั ญาอกี สว่ นหนงึ่ ตอ้ งมาประกอบกนั ตอ้ งใชท้ งั้ หมด เพื่อให้เกิดปัญญามากขึ้น
“การฟัง” ก็เหมือนกัน ฟังให้เป็น เปิดใจให้กว้าง เราเป็นผู้ที่เจริญสติ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จะฟัง พร้อมที่จะเข้าใจ อันไหน ควรฟัง อันไหนควรปิด ถ้าอยากรู้เยอะ ๆ ให้รู้กว้าง ถ้าไม่อยากรับรู้อะไร ก็ให้รู้แคบ ๆ ได้ทั้ง ๒ อย่างนะ ไม่ใช่ว่าต้องรู้กว้างอย่างเดียว
อย่างเราเจาะสภาวะ อย่ารู้กว้าง ให้รู้แคบ รู้เฉพาะอารมณ์เดียว ขณะ ที่เจาะสภาวะ ให้เลือกอารมณ์เดียว รู้อารมณ์เดียว แต่ในชีวิตประจาวัน ถ้า อยากเข้าใจอะไรมาก ก็รู้กว้าง ท่านแม่ครูเคยสอน ถ้าอยากฟังแล้วรู้เรื่องด้วย ให้ใช้วิธีรู้กว้าง อย่ารู้แคบ อย่าเจาะอารมณ์ เจาะสภาวะอย่างเดียว ถ้าเจาะ สภาวะอย่างเดียว จะไม่รู้อะไรเลย รู้แต่อาการเกิดดับอย่างเดียว
เปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จะรับรู้ พร้อมที่จะเข้าใจ นั่นคือสิ่งสาคัญ พร้อมที่จะเข้าใจในธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา และธรรมชาติของรูปนาม


































































































   95   96   97   98   99