Page 190 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 190
186
5. กำรสลำยตัวของธำตุกัมมันตรังสี
การที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่รังสีได้ เพราะนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร
เนื่องจากมีพลังงาน ส่วนเกินอยู่ภายในจึงเกิดการถ่ายเทพลังงานออกมา
ในรูปของอนุภาคหรือรังสีต่าง ๆ เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา อนุภาค
แกมมา เป็นต้น
5.1 ชนิดของกัมมันตภำพรังสี กัมมันตภาพรังสี ที่แผ่ออกมามีอยู่ 3
ชนิดด้วยกัน คือ รังสีแอลฟา รังสีเบตา และรังสีแกมมา
รังสีแอลฟา (Alpha Ray; a) เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่
มีขนาดใหญ่ ซึ่งใน นิวเคลียสมีโปรตอนจํานวนมากและมีมวลมาก เช่น
ยูเรเนียม (U) หรือเรเดียม (Ra) ทําให้เกิดแรงผลัก รุนแรง ระหว่าง
โปรตอนและผลักนิวคลีออน ให้หลุดจากนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง เพื่อ
เปลี่ยนแปลงให้ เป็นนิวเคลียสที่มีเสถียรภาพสูงขึ้น รังสีนี้จะถูกปล่อย
ออกมาจากนิวเคลียสด้วยพลังงานต่าง ๆ กัน
รังสีแอลฟา คือ นิวเคลียสของฮีเลียม มีประจุบวก มีโปรตอนและ
นิวตรอน อย่างละ 2 ตัว มีประจุไฟฟ้า +2 มีเลขมวล 4 มีอํานาจทะลุ
ทะลวงตํ่ามาก เนื่องจากมีมวลมากจึงเกิดการเบียงเบน น้อยมาก เมื่อวิ่ง
ไปชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง แผ่นกระดาษ จะไม่สามารถผ่านทะลุ
ผ่านไปได้ แต่จะถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว แล้วถ่ายทอดพลังงานเกือบ
ทั้งหมดออกไป ทําให้อิเล็กตรอนของอะตอมที่ ถูกรังสีแอลฟาชนหลุด
ออกไป เกิดกระบวนการแตกตัวเป็นไอออน รังสีแอลฟาจึงถูกนํามาทํา
เครื่องวัดควัน