Page 192 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 192
188
รูปที่ 9.4 แสดงการสลายตัวของสารแล้วให้รังสีบีตาลบ
2.2) ปีตาบวกหรือหรือโพสิตรอน ใช้สัญลักษณ์ β+ เกิดจากการ
สลายตัวของ นิวเคลียสที่มีโปรตอนมากกว่านิวตรอน ดังนั้นจึงต้องลด
จํานวนโปรตอนลงเพื่อให้นิวเคลียสเสถียร
เนื่องจากอิเล็กตรอนนั้นเบามาก จึงทําให้รังสีบีตาเกิดการ
เบี่ยงเบนได้ง่าย สามารถเบี่ยงเบนใน สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กได้ มี
ความเร็วสูงมาก คือมากกว่าครึ่งของความเร็วแสง มีอํานาจในการ ทะลุ
ทะลวงมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา
3) รังสีแกมมา (Gamma Ray: Y) เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ใน
สถานะกระตุ้น (Exited State) กลับสู่สถานะพื้นฐาน (Ground State)
โดยการปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา ซึ่งรังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการ
แผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า