Page 32 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 32
28
2. ประเภทของควำมหลำกหลำยทำงชีวภำพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ความ
หลากหลายของชนิดพันธ์ ความหลากหลายของพันธุกรรมและความ
หลากหลายของระบบนิเวศ โดยความหลากหลายทั้ง 3 ลักษณะ มี
ความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในสภาพแวดล้อมและจําเป็นอย่างยิ่งต่อการ
ดํารงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต บนโลก
2.1 ควำมหลำกหลำยของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species
Diversity) หมายถึง ความหลากหลาย ชนิดของสิ่งมีชีวิต (Species) ที่มี
อยู่ในพื้นที่หนึ่ง ๆ นักชีววิทยาวัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของ
สิ่งมีชีวิต โดยดูจาก 2 ลักษณะ คือ
1) ความมากชนิด (Species Richness) หมายถึง จํานวนชนิดของ
สิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ เช่น ในเขตที่มีอากาศหนาว ณ พื้นที่หนึ่งมีต้นไม้
อยู่ประมาณ 1 - 2 ชนิด ขณะที่ป่าในเขตร้อน บนพื้นที่ เท่ากัน มีต้นไม้
หลายสิบชนิด เป็นต้น
2) ความสมํ่าเสมอของชนิด (Species Evenness) หมายถึง
สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ ความหลากหลาย
ทางชนิดพันธุ์ สามารถวัดได้จากจํานวนชนิดของสิ่งมีชีวิตและจํานวน
ประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะ
แตกต่างกันไปตามพื้นพื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อนและในทะเลลึก จะมีความ
หลากหลายของชนิดพันธุ์มากและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ จะ