Page 35 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 35
31
หลากหลายชนิดไปด้วย เช่นกัน ตัวอย่างความหลากหลายของถิ่นที่อยู่
อาศัยตามธรรมชาติ เช่น ในป่าแก่งกระจานมี ลํานํ้าใหญ่ไหลผ่าน จะพบ
ถิ่นกําเนิดตามธรรมชาติมากมาย ได้แก่ ลํานํ้า พรุซึ่งมีนํ้าขัง ฝั่งนํ้า หน้าผา
ถํ้า ป่าบนที่ดอน ซึ่งมีหลายประเภท แต่ละถิ่นจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
แตกต่างกันไป เช่น ลํานํ้าพบปลา ในถ้ามีค้างคาว ป่าบนที่ดอนพบกวาง
เป็นต้น
2) ความหลากหลายของการทดแทน (Successional Diversity)
สิ่งมีชีวิตเริ่มพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตขึ้นมาก่อน
และพัฒนาขึ้นเป็นชุมชน สิ่งมีชีวิตสมบูรณ์ (Climax Stage) เมื่อเกิดการ
รบกวนหรือการทําลายระบบนิเวศ เช่น เกิดพายุ การตัดไม้ทําลายป่า ไฟ
ป่า นํ้าท่วม แผ่นดินถล่ม ฯลฯ ก็จะทําให้ระบบนิเวศเกิดความเสียหาย
หรือ ถูกทําลาย ธรรมชาติจะมีการทดแทนทางนิเวศ ของสิ่งมีชีวิตใหม่
ขึ้นมาแทนที่ (Ecological Succession)
3. กำรจ ำแนกชั้นทำงวิทยำศำสตร์
สิ่งมีชีวิตมีมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน จึง
ต้องมีการจัดแบ่งกลุ่ม หมวดหมู่ สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เพื่อความสะดวกในการศึกษา และการนํามาใช้
ประโยชน์ โดยลักษณะที่ใช้ในการจําแนกสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ลักษณะภายนอก
และโครงสร้าง ภายใน แบบแผนการเจริญเติบโตและโครงสร้างระยะตัว
อ่อน ซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบ โครงสร้างของเซลล์และออร์