Page 6 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 6
2
1.1 ควำมแปรผันของลักษณะทำงพันธุกรรม (Genetic Variation)
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันหลาย
ลักษณะลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น เมื่อต่างพ่อแม่กัน
ไม่เป็นญาติกันหรือต่างเชื้อชาติกัน ความแตกต่างดัง กล่าวเกิดจาก
ลักษณะของยีนที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตจะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับปริมาณความแปรผันทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ความแปรผัน
ของลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง
(Discontinuous Variation) เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันอย่าง
ชัดเจน เช่น ลักยิ้ม การเวียนขวัญของผมบนศีรษะ การถนัดซ้ายถนัดขวา
หมู่เลือด เป็นต้น
2) ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง
(Continuous Variation) เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันทีละ
น้อย ไม่ชัดเจน เช่น ลักษณะผิวของคนมีตั้งแต่ดําสนิท ดําปานกลาง ดํา
น้อยลงเรื่อย ๆ จนถึงผิวขาว ความสูง สติปัญญา นํ้าหนัก เป็นต้น
1.2 ลักษณะทำงพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม (Environment
Variation)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตบางลักษณะแปรผันตามอิทธิพลของ
สิ่งแวดล้อม เช่น ขนาดหรือนํ้าหนัก สีผิว สติปัญญา ดังนั้นลักษณะของ
สิ่งมีชีวิตนอกจากจะถูกกําหนดโดยพันธุกรรมแล้วยังถูกกําหนดโดย
สิ่งแวดล้อมอีกด้วย สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ