Page 14 - ทช21003
P. 14

11





                     ทําให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม สีแดง ผสมกับสีนํ้าเงิน ได้สีม่วง สีเหลือง

                     ผสมกับสีนํ้าเงิน ได้สีเขียว
                            สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ อีก 6 สี

                     คือ สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง

                     แดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง

                     สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                     สีนํ้าเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวนํ้าเงิน

                     สีนํ้าเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงนํ้าเงิน

                     สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
                            วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี โดยจะมี

                     สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ

                            สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง
                            สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีนํ้าตาล กับ สีเทา สีนํ้าตาล เกิด

                     จากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน



                      คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ

                            1. สีแท้ หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ
                     โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลืองวนไปถึงสีม่วง คือ

                            1. สีร้อน ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง

                     ส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
                            2. สีเย็นให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวนํ้า

                     เงิน สีนํ้าเงิน สีม่วงนํ้าเงิน สีม่วง เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสี

                     กลางและ เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
                            2. ความจัดของสี หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดํา

                     จนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลําดับจากจัดที่สุด ไปจนหม่น

                     ที่สุด

                             3. นํ้าหนักของสี หมายถึง สีที่สดใส สีกลาง สีทึบของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีนํ้าหนักในตัวเอง

                     ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่างขึ้น หรือมีนํ้าหนักอ่อนลงถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละ
                     น้อยๆ  ตามลําดับ  เราจะได้นํ้าหนักของสีที่เรียงลําดับจากแก่สุด  ไปจนถึงอ่อนสุด  นํ้าหนักอ่อนแก่
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19