Page 10 - ทช21003
P. 10

7





                            5. ความคิดสร้างสรรค์เหมาะสม และความพอดีของการนําวัตถุหรือวัสดุสิ่งของต่าง ๆ มา

                     ประดับตกแต่งร่างกายและที่อยู่อาศัยหรือตกแต่งสถานที่ สิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป
                            6. คุณค่าของความซาบซึ้ง ความดีงามของวัฒนธรรม ประเพณี และความสวยงามของวัด

                     โบสถ์ วิหารยุคต่างๆของชาติ


                     ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

                            ขั้นที่ 1 กําหนดสภาพปัญหาความต้องการ

                             ครูและผู้เรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสําคัญของทัศนศิลป์ ที่ใช้ของจุด เส้น สี แสง – เงา
                     รูปร่างและรูปทรง เพื่อความซาบซึ้งในงานทัศนศิลป์ ของไทย   ความหมาย ความเป็นมาของทัศนศิลป์

                     ไทยด้านจิตรกรรม   ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  ภาพพิมพ์ ความงามของทัศนศิลป์ ไทยที่เกิดจาก

                     ความงามตามธรรมชาติ   วิธีการนําความงามของธรรมชาติมาสร้างสรรค์งาน   ความคิดสร้างสรรค์

                     เหมาะสม และความพอดีของการนําวัตถุหรือวัสดุสิ่งของต่าง ๆ มาประดับตกแต่งร่างกายและที่อยู่
                     อาศัยหรือตกแต่งสถานที่ สิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป และคุณค่าของความซาบซึ้ง ความดีงามของวัฒนธรรม
                     ประเพณี และความสวยงามของวัด โบสถ์ วิหารยุคต่างๆ ของชาติ



                            ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและการจัดการเรียนรู้

                            1. ให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์

                            2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน ตามหัวข้อดังนี้
                               2.1 เทคนิควิธีการวาด ปั้น

                               2.2 วัสดุอุปกรณ์ในการปั้น

                                 2.3 การสื่อความหมายในการปั้น

                     ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนําไปประยุกต์ใช้

                            1. ครูให้ผู้เรียนไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของทัศนศิลป์  เพื่อให้สามารถนําไปประยุกต์ใช้
                     ในการดํารงชีวิตประจําวัน

                            2. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอ

                            3. ผู้เรียนซักถาม/แสดงความคิดเห็น
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15