Page 15 - ทช21003
P. 15

12





                     ของสีที่ได้ เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดํา นํ้าหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม  ซึ่งจะ

                     ทําให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา


                     แสงและเงา

                            แสงและเงา หมายถึง แสงที่ส่องมากระทบพื้นผิวที่มีสีอ่อนแก่และพื้นผิวสูงตํ่า โค้งนูนเรียบ

                     หรือขรุขระ ทําให้ปรากฏแสงและเงาแตกต่างกัน

                     ตัวกําหนดระดับของค่านํ้าหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก
                     เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน

                            บริเวณแสงสว่างจัด  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกําเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด

                     ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกําเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด

                            บริเวณแสงสว่าง เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด เนื่องจากอยู่
                     ห่างจากแหล่งกําเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่านํ้าหนักอ่อน ๆ

                            บริเวณเงา เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมี

                     ค่านํ้าหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
                            บริเวณเงาเข้มจัด เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบด

                     บังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่านํ้าหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด

                            บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่

                     ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่านํ้าหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา นํ้าหนักของพื้น หลัง
                     ทิศทางและระยะของเงา



                     ความสําคัญของค่านํ้าหนัก

                            1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
                            2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว

                            3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง

                            4. ทําให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะใกล้ - ไกลของภาพ
                            5. ทําให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ



                                                          ใบความรู้

                                    เรื่อง ความหมายและความเป็นมาของทัศนศิลป ์ ไทย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20