Page 20 - ทช21003
P. 20
17
3. แบ่งตามจํานวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามี
ลักษณะเหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ
ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ
4.1 แม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทําให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์
ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทําขึ้นมาเป็นประเภทแรก
ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ในอดีตผู้คนมักจะหาวิชาความรู้ได้จากในวัดเพราะวัดจะเป็น
ศูนย์กลางของนักปราชญ์หรือผู้รู้ ใช้เป็นสถานที่ในการเผยแพร่วิชาความรู้ต่างๆ จิตรกรรมฝาผนังที่
เขียนตามศาลา โบสถ์ วิหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ
พุทธประวัติ ชาดก วรรณคดีและนิทานพื้นบ้าน ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์
วรรณคดีแล้ว เรายังได้อรรถรสแห่งความสนุกสนานเพลิดเพลินกับความสวยงามของภาพวาดเหล่านี้
อีกด้วย
4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทําให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดย
ใช้แผ่นโลหะทําเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทําให้ลึกลงไปโดยใช้
นํ้ากรดกัด แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง
สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ใน
การพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์
โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน
การพิมพ์ออฟเซท ภาพพิมพ์กระดาษ ภาพพิมพ์ครั้งเดียว
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไปสู่ผลงานที่อยู่
ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์
ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ในอดีตผู้คนมักจะหาวิชาความรู้ได้จากในวัดเพราะ
วัดจะเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์หรือผู้รู้ ใช้เป็นสถานที่ในการเผยแพร่วิชาความรู้ต่างๆ จิตรกรรม
ฝาผนังที่เขียนตามศาลา โบสถ์ วิหารก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้โดยเฉพาะที่
เกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก วรรณคดีและนิทานพื้นบ้าน ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในเรื่องศาสนา
ประวัติศาสตร์ วรรณคดีแล้ว เรายังได้อรรถรสแห่งความสนุกสนานเพลิดเพลินกับความสวยงามของ
ภาพพิมพ์ต่าง ๆ เหล่านี้อีกด้วย