Page 12 - การให้รหัสโรค
P. 12
1
ศัพท์ทางการแพทย์กับการให้รหัสโรค
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective of learning)
เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทนี้จบแล้ว สามารถ:
ั
1. เข้าใจและอธิบายหลักการที่มาของคำศพท์ รากศพท์ และการแปลความหมายของ
ั
คำศพท์เฉพาะทางด้านการแพทย์
ั
2. เข้าใจและอธิบายตัวย่อที่ใช้บ่อยทางการแพทย์
ความเป็นมาของศัพท์ทางการแพทย ์
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม
เช่นเดียวกับคำศัพท์เฉพาะทางด้านการแพทย์ (medical terminology) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิด
ความเข้าใจที่ตรงกันในวงวิชาการแพทย์และสาธารณสุข ภาษาทางการแพทย์นี้ใช้ตัวอักษร
ภาษาอังกฤษ แต่มีวิวัฒนาการรากศัพท์มาจากภาษากรีกและลาติน ดังภาพที่ 1.1 ทำให้มีเอกลักษณ์
เฉพาะตัว กล่าวคือ
- คำศัพท์บางคำคงรูปภาษาดั้งเดิม คือ ภาษากรีก เช่น dyspnoea (หายใจลำบาก)
diarrhoea (ท้องเสีย)
- คำศัพท์บางคำค่อนข้างยาวกว่าปกติ เช่น gluconeogenesis (การสร้างน้ำตาลกลูโคส)
ที่เกิดจากการนำคำมาสมาสกัน ได้แก่ gluco (glucose) + neo (new) + genesis
(synthesis)
- คำศัพท์บางคำมีที่มาจากชื่อบุคคลที่ค้นพบ สถานที่ หรือสิ่งของ เรียกว่า eponyms เช่น
Alzheimer’s disease, Colles’ fracture, Babinski sign, Whipple’s procedure
- ศัพท์ที่ย่อมาจากอักษรตัวแรกของชื่อที่ประกอบด้วยคำหลายคำ เรียกว่า acronyms
เช่น โรคเอดส์หรือ AIDS (acquired immunodeficiency syndrome)
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ