Page 29 - Test2
P. 29
ค�ำสอน : วรรณกรรมท้องถิ่นใต้
วรรณกรรมค�าสอน เป็นเครื่องมือทางสังคมอย่างหนึ่งที่ผู้แต่งใช้เพื่อแนะน�า อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติ
ตามจริยธรรม หรือค่านิยมที่สังคมก�าหนด และใช้เพื่อเผยแพร่ความคิด ความเชื่อ ถือได้ว่าวรรณกรรมค�าสอน
ใช้ควบคุมพฤติกรรมทางสังคมที่ส�าคัญอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ มักปรากฎในวรรณกรรมเกือบทุกประเภท เช่น
วรรณกรรมศาสนา วรรณกรรมประโลมโลก หมายถึงเรื่องราวรัก ๆ ใคร่ ๆ นั่นเอง
วรรณกรรมค�าสอนของภาคใต้มักเป็นคติค�าสอนในพุทธศาสนา นิยมแต่งเป็นร้อยกรอง และกาพย์ เช่น
กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ วรรณกรรมค�าสอนดังกล่าว เช่น ปริศนาสอนน้อง
(ต้นฉบับเขียน ปริสนาสอรนอง) สุภาษิตสอนหญิงค�ากาพย์ ลุงสอนหลาน สุภาษิตสอนกุมาร เป็นต้น เนื้อหา
ของวรรณกรรมค�าสอน มีทั้งสอนบุคคลทั่วไป สอนสตรี สอนบุรุษ สอนขุนนาง ข้าราชการ สอนบุตรหลาน
และสอนพุทธบริษัททั้งหลาย
วรรณกรรมค�าสอน (ปริศนาสอนน้อง) ที่ใช้การสอนอย่างตรงไปตรงมา
อย่าเดินเปล่าเปล่าอุรา สไบบงเฉียงบ่า
ค่อยเยื้องค่อยย่างตามกระบวน
ค่อยทรงพิศชายเสสรวล อย่าแย้มกระบวน
ตอบถ้อยขะข้อยขืนใจ
เดินตามกิรียาฌาสัย แม้ลมพัดสไบ
ระวังปิดปกนมนาง
ลุกนั่งระวังผ้าจะขัดขวาง อย่านั่งเท้าคาง
เท้าแขนออกไปไกลตัว
อย่านั่งเอาบ่าแบกหัว อย่าคะโงกโยกตัว
เป็นคนทุจริตอัปรีย์
อย่านั่งคากะไดไม่ดี หัวสนทียาราตรี
อย่าเร่เที่ยวพลอดเรือนคน
อย่านอนร่มไม้ชายถนน อย่านอนตากตน
นอกเกยนอกชานชาลา
ไม่หลับจะลืมสติผ้า เป็นเวทนา
ปากคนจะฉินเฉ้ยสวน
หนึ่งโสดแม้นต้องส�ามร้วน หัวดังไม่ควร
หัวร่อค่อย ๆ พอสบาย
แม้นยิ้ม ๆ แต่พอพราย ยิ้มนักมักสลาย
เงาฟันจะเศร้าเสียแสง
29 | L I B R A R Y 2 U