Page 96 - คณิตศาสตร์และสถิติเพื่องานอาชีพ
P. 96
88
นักเรียนได้เข้าไปศึกษาร้านค้าแห่งหนึ่ง จากที่ได้ทําการเก็บข้อมูลการขายของสินค้า
ชนิด A จํานวน 150 วัน ได้ข้อมูลดังตารางดังนี้
ยอดขาย (หน่วย) : T จํานวน(วัน)
100 50
120 40
125 30
150 30
โดยระยะเวลานําส่งสินค้าจากคําสั่งซื้อ เท่ากับ 4 วัน เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจะทํา
การวิเคราะห์หาจุดสั่งซื้อ
∑ 100 50+120 40+125 30+150 30
ยอดขายเฉลี่ยวัน = = =
∑ 50+40+30+30
120.33 หน่วย
จุดสั่งซื้อสินค้า = 120.33 x 4 = 481.32
นั่นคือ เมื่อสํารวจพบว่าสินค้าชนิด A เหลืออยู่ในคลังสินค้า จํานวนประมาณ 481
หน่วย จะทําการ สั่งซื้อสินค้าในรอบต่อไป โดยสินค้าจะมาถึงใน 4 วัน หลังจากคําสั่งซื้อ
สรุป การหาจุดสั่งซื้อ เป็นจุดตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้า สําหรับการควบคุม
ปริมาณสินค้าคงคลังให้ มีความเหมาะสม นั่นคือ ไม่เกิดสินค้าขาดเมื่อลูกค้าต้องการ
สั่งซื้อ หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการมีจํานวน สินค้าคงคลังมากเกินไป
กรณีศึกษาที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม ข้อมูลแบบสอบถาม โดยทั่วไป
จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งจะถามเกี่ยวกับ
เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น
2. ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ซึ่งถ้าเป็นแบบสํารวจความคิดเห็น จะแบ่ง
ระดับความคิดเห็น เป็น 5 ระดับ
ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ข้อมูลทั่วไปจะวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ และ
ข้อมูลการสํารวจ ความคิดเห็นจะนิยมใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบน