Page 2 - praprang wat phrub
P. 2
2
พระปรางค์ หมายถึง เจดีย์ประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทยที่พัฒนามาจาก
“ปราสาท” ในอารยธรรมเขมร เชื่อกันว่าพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สร้าง
ขึ้นก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาประมาณ 100 ปี และน่าจะมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18
ได้แสดงให้เห็นถึงต้นเค้าพัฒนาการของความเป็น “พระปรางค์” ในระยะเริ่มแรก ด้วยรูปทรงที่
เริ่มโปรงเพรียวขึ้น และการลดทอนลักษณะที่ซับซ้อนดูน่าเกรงขามแบบปราสาทเขมรลง และนับ
จากนี้เป็นต้นไปรูปแบบของ “พระปรางค์” ได้มีพัฒนาการไปสู่การแสดงออกทางศิลปะ
สถาปัตยกรรมทมแบบแผนและเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ที่มาของค าเรียก “ปรางค์” ตามความหมายเดิมคงไม่ได้หมายถึง สิ่งก่อสร้างแบบเดียวกับ
อาคารปราสาท เมื่อวิเคราะห์จากจารึกอักษรขอมที่ท าขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-17 ได้
แสดงให้เห็นว่า “ปราสาท” และ“ปรางค์” เป็นอาคารคนละส่วนกัน สันนิษฐานว่าค าว่า ”ปรางค์”
มาจากค าว่า “ปรางคณ” แปลว่า ชาลา หรือทางเดินเข้า ที่เป็นมุข หรือชาลามีหลังคาคลุม หรือ
ระยะทางนับตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้า (โคปุระ) จนถึงองค์ปราสาท แต่ต่อมาค าว่า “ปรางค์” ได้
กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกเจดีย์ประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย และในบางครั้งยังใช้เรียกรวมไป
ถึงสถาปัตยกรรมในดินแดนไทยที่มีลักษณะใกล้ชิดกับปราสาทในวัฒนธรรมเขมรด้วย
แม้พิจารณาค าเรียกใช้ของนักวิชาการไทยในอดีตก็ยังพบค าเรียกที่ใช้ปะปนกันอยู่เสมอ ดัง
ข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เกี่ยวกับค าว่า “ปรางค์” และ
“ปราสาท” ว่า “เป็นของติดต่อปะปนกันอยู่ เลยท าให้เข้าใจไปผิดๆ ค าว่าปรางค์ แม้บัดนี้ยังเขาใจ
เป็น 2 อย่าง ว่าที่อยู่ก็ได้ ว่ายอดรูปดอกข้าวโพดก็ได้”
ด้วยทรงมีความเห็นว่าปรางค์ก็เป็นปราสาทเหมือนกัน ดังนี้จึงมี บางท่านเรีย ก
สถาปัตยกรรมประเภทนี้ว่า “ปรางค์ปราสาท” นอกจากนี้ก็มีผู้ให้ข้อเสนอเพื่อจ าแนกความ
แตกต่างทางด้านศิลปะสถาปัตยกรรมด้วยค าเรียก รูปแบบใกล้ชิดและคลี่คลายจนมีเอกลักษณ์
แบบไทยแล้วว่า “ปรางค์แบบไทย” และเรียกปราสาทซึ่งมีรูปลักษณะทางสถาปัตยกรรมใกล้ชิด
กับวัฒนธรรมเขมรมากกว่าว่า “ปรางค์แบบขอม” แม้การเรียก “ปราสาท” ว่า “ปรางค์แบบขอม
(เขมร)” ไม่ใช่สิ่งผิด หากแต่นักวิชาการเขมรและนักวิชาการตะวันตกต่างนิยมที่จะใช้ค าว่า
“ปรางค์” ส าหรับศิลปะไทยและ“ปราสาท” ส าหรับศิลปะเขมรเสมอ
เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะที่แตกต่างดังนี้ จงเลือกใช้ค าว่า “พระปรางค์” โดยอาศัย
หลักเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์และรูปแบบศิลปกรรม พิจารณาเรียกสถาปัตยกรรมที่เห็นว่า
คลี่คลายแล้วจากปราสาทในวัฒนธรรมเขมร และเชื่อได้ว่าสร้างขึ้นภายหลังจากความเสื่อมสลาย
ลงของอารยธรรมเขมร ในดินแดนไทยนับจากกลางพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา เพราะนับจาก